คมสัน เจริญอาจ นำศาสตร์พระราชามาเป็นต้นแบบการบริหารจัดการน้ำเมืองนครนายกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จนเป็น “เมืองนครนายกโมเดล”

กันยายน 21, 2016 15:57 โดย opwnews
0
2616

พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา ปทุมธานี สัมภาษณ์พิเศษ

คมสัน เจริญอาจ นำศาสตร์พระราชามาเป็นต้นแบบการบริหารจัดการน้ำเมืองนครนายกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จนเป็น “เมืองนครนายกโมเดล”1474473777058

ถ้ากล่าว ถึงนายอำเภอที่ทำงานช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอดคงมีชื่อนายคมสัน เจริญอาจ นายอำเภอเมืองนครนายก ติดอันดับต้นๆอย่างแน่นอน ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทำงานรับใช้ประชาชนตามแนวศาสตร์พระราชาที่ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาแบบยั่งยืนและนำศาสตร์ด้านการจัดการ “ดิน น้ำ ป่า” ลงมือปฏิบัติได้จริง จนประสบความสำเร็จในการสร้างต้นแบบวิธีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

ด้วยรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ว่าทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภคบริโภค มีน้ำเพื่อการผลิตมั่นคง และความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุลโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนหรือประชารัฐ

นายคมสัน เจริญอาจจบปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อจบมาแล้ว ก็เข้าสู่โหมดของนักปกครองเต็มตัว ในตำแหน่งปลัดอำเภอ ในพื้นที่ จังหวัดนครพนมหลังจากนั้นก็เติบโตในวิทยาลัยการปกครอง จังหวัดปทุมธานี จนมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภออาวุโสที่ อ.ตะพานหิน จังหวัดพิจิตรและขยับเป็นนายอำเภอครั้งแรกที่ อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น แล้วโยกมานั่ง เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนนายอำเภออีก 4 ปีเต็ม ก่อนที่จะขยับเป็นซี 9 และนั่งเป็นนายอำเภอลำลูกกา และธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จนมาเป็นนายอำเภอเมืองนครนายก ในปัจจุบัน

นายคมสัน เจริญอาจ นายอำเภอเมืองนครนายก กล่าวว่าน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของแผ่นดิน ดังนั้น น้ำจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติของคนไทยที่ต้องมีการบริหารจัดการทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับยุคปัจจุบันด้วยแนวคิดที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ซึ่งการจัดการน้ำในปัจจุบันควรมีกลไกสำคัญได้แก่ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกันคิด ช่วยกันหารูปแบบและวิธีดำเนินการแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบบูรณาการในทุกมิติจึงจะบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนโดยไม่เกิดความขัดแย้งในสังคม

เมืองนครนายกมีแหล่งน้ำสำคัญ คือ เขื่อนขุนด่านปราการชล น้ำตกวังตะไคร้ น้ำตกสาลิกา น้ำตกนางรอง โดย ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ได้กำหนดมาตรการและแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการน้ำทั้งในระยะเร่งด่วน ปานกลาง และระยะยาว 3 แนวทาง คือ 1. การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง โดยกำจัดผักตบชวาและวัชพืชทุกชนิดในแม่น้ำลำคลองทุกสาย เพื่อให้แม่น้ำลำคลองสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูลที่จะส่งผลให้น้ำเสีย 2.การกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งเมื่อดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลในแม่น้ำลำคลอง ก็เร่งสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และ 3.การบริหารจัดการน้ำในระยะยาว โดยจัดทำระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำ กำหนดและสำรวจจุดติดตั้งสถานีโทรมาตรเพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม รวมทั้งการป้องกันปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนอย่างยั่งยืน

นายอำเภอเมืองนครนายกยังกล่าวต่ออีกว่า จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ของเขาใหญ่กว่า 20%เป็นแหล่งต้นน้ำที่สมบูรณ์ มี‘เขื่อนขุนด่านปราการชล’ อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบในการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับราษฎรพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายกแบบ ครอบคลุมทั้งเรื่องน้ำและดิน การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกร นอกจากนี้เมืองนครนายกยังมีอ่างเก็บน้ำห้วยปรือ อ่างเก็บน้ำทรายทองและ อ่างเก็บน้ำคลองโบด ที่จะช่วยหล่อเลี้ยงประชาชนในพื้นที่ทั้งด้านการเกษตร อุปโภคและบริโภค ในยามหน้าแล้ง

การบริหารจัดการน้ำยังต้องอาศัยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาช่วย ชุมชนต้องรู้จักบริหารจัดการน้ำ ไม่ใช้อย่างเดียว ต่อให้มีอ่างเก็บน้ำแต่ไม่บริหารจัดการ น้ำก็ไม่พอใช้ จริงๆ แหล่งน้ำไม่มีปัญหา ระบบจัดการต่างหากที่มีปัญหา การจัดการต้องอาศัยคนและข้อมูล เราต้องดูระบบน้ำทั้งระบบและการเชื่อมอ่างเก็บน้ำก็เป็นวิธีการบริหารจัดการน้ำอย่างหนึ่งที่ยั่งยืน

จังหวัดนครนายกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและจัดทำแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำ สำหรับเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและกำหนดทิศทางของการพัฒนาทรัพยากรน้ำของจังหวัด โดยมีข้อมูลในระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และบูรณาการสู่แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดในภาพรวม โดยสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการน้ำร่วมกันในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกเขตปกครอง และพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำของจังหวัดนครนายก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ของจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และสนองตอบความต้องการของประชาชนทุกภาคส่วน

จังหวัดนครนายกถึงแม้จะไม่ประสบกับปัญหาภัยแล้งเหมือนเช่นจังหวัดอื่นๆ แต่การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งจำเป็น เรามีการประชุมทุกภาคส่วนกันทุกสัปดาห์ แบบมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน ตามแนวประชารัฐ ที่ทุกคนมาร่วมด้วยช่วยกัน มีการสร้างฝายกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น การเชื่อมต่ออ่างเก็บน้ำต่างๆ ไม่เพียงแค่รับมือกับภัยแล้งได้ แถมยังป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อีก ด้วยหลักแนวคิด “เมืองนครนายกโมเดล” หลักการนี้จะเป็นอย่างไร “เป็นหนึ่งในหลักการแนวคิด ของฐานการเรียนรู้กู้วิกฤตชาติด้วยศาสตร์พระราชา ที่นายคมสัน เจริญอาจ นายอำเภอเมืองนครนายก ใช้เป็นต้นแบ

นายคมสัน กล่าวว่าข้าราชการที่ดี ต้องยึดประชาชนเป็นที่ตั้งในการที่จะดูแลทุกข์สุขของประชาชน เป็นแบบอย่างที่ดีให้เขานำไปใช้ นำไปปฏิบัติได้ และสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนทั่วไปในทุกลุ่มน้ำตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพรู้คุณค่า ด้วยการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งทุกลุ่มน้ำด้วยเอกสารและสื่อความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำแบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงศักยภาพและสภาพเกี่ยวกับปัญหาน้ำอย่างถูกต้องชัดเจน

“เราจะจัดการบริหารจัดการน้ำในยุคปัจจุบันให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร” ในปัจจุบันมีปัญหามากมาย มีผลกระทบโดยตรงกับผู้คนที่พึ่งพาทรัพยากร ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้เป็นปรัชญานำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างแท้จริง ที่สามารถจัดการให้มีทรัพยากรใช้อย่างเพียงพอทั่วถึงตามศักยภาพของพื้นที่และความต้องการ ใช้น้ำที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้การพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถป้องกันและแก้ไขภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง โดยให้ทุกส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการจัดการน้ำอย่างมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งเรียกว่า “ประชารัฐ” นายคมสันฯกล่าว

นี่คือวิธีคิดและวิสัยทัศน์ของ “คมสัน เจริญอาจ” นายอำเภอเมืองนครนายก ที่มุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำหน้าที่ข้าราชการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯให้สุดความสามารถ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน




--!>