สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมชิงปฏิบัติพิจารณา (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔

กันยายน 23, 2016 02:35 โดย opwnews
0
1236

เมื่อวันที่ ๒๒ – ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมชิงปฏิบัติพิจารณา (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔
FB_IMG_1474598474244 โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตรี ณัฐพงษ์ เพราแก้ว) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท) ผู้แทน ๕ องค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาระดมความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะ ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดการประชุมว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ถือเป็นนัดสำคัญครั้งสุดท้ายก่อนนำเสนอต่อ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณารายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย สกศ. ดำเนินการศึกษา ประเมิน วิเคราะห์ และเปรียบเทียบการศึกษาจากนานาชาติเป็นเวลากว่า ๓ ปี เพื่อจัดทำร่างแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่ ระยะ ๑๕ ปี อย่างสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) และนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และแก้ปัญหาการศึกษาของชาติอย่างตรงจุดและ ปฏิบัติได้จริง เป็นที่ยอมรับและเห็นชอบร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสามารถก้าวพ้นหล่มปัญหาการศึกษาปัจจุบัน และการกำหนดดัชนีชี้วัดให้ยกระดับความสามารถของการศึกษาไทยด้านต่าง ๆ ให้สูงขึ้นตามมาตรฐานสากล นำไปเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของแผนฯ ในอีก ๑๕ ปีข้างหน้า เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ทิศทางกระบวนการจัดการศึกษาตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ ๑๕ ปี ภายใต้ ๑๐ ยุทธศาสตร์หลักซึ่งขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ในช่วง ๕ ปีแรก เน้นโครงการสำคัญเร่งด่วน โครงการวิจัยทดลองนำร่อง และพัฒนาระบบการศึกษา ระยะ ๕ ปีที่สอง เน้นขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และบริหารจัดการความเสี่ยง และระยะ ๕ ปี สุดท้าย เน้นการติดตาม ประเมินผลเชิงระบบ และปรับปรุงระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป เพื่อให้มีความสมบูรณ์รอบด้าน และครอบคลุมการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการพิจารณาจากการประชุมครั้งนี้ จะได้นำเสนอ ๒ รูปแบบ คือ ๑.ฉบับราชการ ที่มีเนื้อหาตามระเบียบราชการจะนำเสนอต่อ ครม. และ ๒.ฉบับประชาชน ที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย ๆ และภาพประกอบสวยงาม ทาง สกศ. จะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป ด้าน พลตรี ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่ากรอบแนวทางแผนการศึกษาชาติ ระยะ ๑๕ ปี มีจุดเน้น ๕ ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย ๑.การเข้าถึงการศึกษา ๒.ความเท่าเทียม ๓.คุณภาพการศึกษา ๔.ประสิทธิภาพ และ ๕.การตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป้นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทาง พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบ ๓R ๘C คือ สร้างทักษะพื้นฐาน อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นและยกระดับการมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติดังกล่าว ดังนั้น จึงเห็นความสำคัญของการบูรณาการร่วมกันของ ๕ องค์กรหลัก ศธ. ขับเคลื่อนไปทิศทางเดียวกับ สนช. และ สปท. ให้มีความครอบคลุมการศึกษาทุกระบบทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา อาชีวศึกษา การศึกษาเอกชน และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางขับเคลื่อนแผนให้เห็นภาพการสนับสนุน และเป้าหมายอย่างชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ตลอดการประชุมเชิงปฏิบัติ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ สกศ. ได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากสมาชิก สนช. สมาชิก สปท ผู้แทน ๕ องค์กรหลัก ศธ. ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้แทนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่รวบรวมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปรับแก้ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ ๑๕ ปี ครั้งสุดท้ายให้มีความสมบูรณ์และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาของชาติอย่างรอบด้าน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยเชื่อมโยงขับเคลื่อนยุคประเทศไทย ๔.๐ สู่สังคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นำเสนอผลการกระชุมต่อ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะได้รายงานข้อสรุปแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔ รายงานต่อที่ประชุม ครม. ต่อไปพร้อมสั่งการมอบหมายเชิงนโยบายไปยังผู้บริหาร ๕ องค์กรหลัก ศธ. นำสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ




--!>