ศาลเยาวชนและครอบครัวมุ่งเน้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้เด็กหรือเยาวชนกลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการลงโทษ

พฤษภาคม 11, 2017 05:07 โดย opwnews
0
1136

ศาลเยาวชนและครอบครัวมุ่งเน้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้เด็กหรือเยาวชนกลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการลงโทษreceived_778062142349331
ปัจจุบันวัยรุ่นและเยาวชนส่วนใหญ่มีปัญหาหลายอย่างที่ตนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเองบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการผิดๆไม่มีการคิดวิธีการแก้ไขปัญหากันอย่างถูกต้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับพวกเขาให้เขาได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาวัยรุ่นเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ที่มักจะประสบปัญหาคือเขาไม่มีความรู้ในเรื่องของสิ่งที่ถูกหรือผิดไม่มีคนมาให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่ถูกและชี้แนะแนวทางการแก้ไขหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยการคิดที่ขาดการยั้งคิดปัญหาส่วนใหญ่ เช่น ติดยาเสพติด ติดเกมส์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงของเด็กและสตรี ค่านิยมความทันสมัยตามโฆษนาตามสื่อต่างๆ เยาวชนเมื่อประสบพบเจอกับปัญหาต่างๆส่วนใหญ่มักปรึกษาเพื่อนเชื่อเพื่อนเพราะคิดว่าเพื่อนเป็นที่พึ่งให้แก่ตนได้ทั้งหมดเป็นความคิดที่ผิดความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาคนที่ควรไปขอคำปรึกษาคือ พ่อ แม่ เพราะพ่อแม่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดและสามารถให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่องสุดท้ายเมื่อมีการกระทำความผิดบุคคลเหล่านี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือได้รับการช่วยเหลือให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยศาลเยาวชนและครอบครัว

ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว. พ.ศ. 2507 เป็นศาลชั้นต้นในระบบศาลยุติธรรมมีการพิจารณาคดีพิเศษแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด ( เด็ก หมายถึง บุคคลที่อายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ เยาวชน หมายถึง บุคคลที่อายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ) และคุ้มครองสถานภาพของเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดและคุ้มครองสถานภาพของครอบครัวให้เกิดความสงบสุข รวมทั้งพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพของบุตรในครอบครัวนั้น ปัจจุบันมีนายนันทวุธ แจ่มจิรารักษ์ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา
การดำเนินกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ของศาลเยาวชนและครอบครัวมุ่งเน้นการหาปัจจัยที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด และดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งตัวเด็กหรือเยาวชนและเหตุปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ภาวการณ์เลี้ยงดูเด็กหรือเยาวชนที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้เด็กหรือเยาวชนได้ประพฤติตนในทางที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดียิ่งกว่าที่จะลงโทษ

การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง ศาลเยาวชนและครอบครัวจะมุ่งเน้นการคุ้มครองสถานภาพของครอบครัว การรักษาผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับสิทธิและทรัพย์สินของผู้เยาว์ในคดีแพ่งหรือคดีครอบครัวโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคต และความผาสุกของผู้เยาว์เป็นสำคัญ รวมทั้งหามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาและบุตรให้ปรองดองกัน
อำนาจหน้าที่ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาคดีหรือมีคำสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ,คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 97 วรรคหนึ่ง ,คดีครอบครัว ,คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ และคดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว
โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว คือ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ,พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
ในการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ศาลเยาวชนและครอบครัวมีบทบัญญัติให้ศาลคำนึงถึง สวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรมสั่งสอน และสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดี ยิ่งกว่าการลงโทษ ดังนั้นจึงมีการคัดเลือกตัวผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวอย่างรอบคอบ โดยยึดหลักว่า “ จะต้องเป็นผู้ซึ่งมีอัธยาศัยดี และมีความประพฤติเหมาะสมที่จะปกครองและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน ” แม้จะมีการคัดเลือกตัวบุคคลผู้เหมาะสมมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วก็ตาม ก็อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เพราะบุคคลผู้เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าว อาจจะยังคงติดวิธีการหรือแนวความคิดที่มุ่งมั่นหรือมองปัญหาไปในด้านตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวโดยลืมคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนนั้น หรืออาจจะขาดความรู้ความเข้าใจในความรู้สึกของเด็กและเยาวชนนั้นได้เช่น ผู้ขาดประสบการณ์ในการมีครอบครัว เป็นต้น กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีผู้พิพากษาสมทบขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อต้องการให้มีบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่นักกฎหมายได้มีโอกาสมองปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับการมองปัญหาลูกหลานของตนเองพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาตามสภาพและความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทั่วไป เพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาได้ใช้ดุลพินิจในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษา หาแนวทางแก้ไขได้ถูกต้องแท้จริง
นางงามพิศ วงศ์สุรวัฒน์ ประธานผู้พิพาษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่า ผู้พิพากษาสมทบ เป็นตำแหน่งซึ่งได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ. ศ.2534 ว่า “ ในศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาล ให้มีผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด ” มาตรา 16 และยังมีบทบัญญัติกำหนดว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงเป็นองค์คณะพิพากษาคดีได้ มาตรา 24 แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ ผู้พิพากษาสมทบ ” ไว้โดยเฉพาะ ผู้พิพากษาสมทบจึงเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาสมทบ
¬¬¬¬¬¬¬¬¬โดยผู้พิพากษาสมทบต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปีบริบูรณ์ มีหรือเคยมีบุตรมาแล้วหรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่งได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการตุลาการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและจะต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ พร้อมกับมีอัธยาศัยและประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวด้วย
พิสิษฐ์ เขื่อนเพ็ชรต์ / ศูนย์ข่าวนครราชสีมา
received_778062885682590




--!>