นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยรูปภาพเเมลงที่มีการแชร์ส่งต่อกัน แท้จริงแล้วเป็นภาพของ “แมงดานา”

มิถุนายน 17, 2017 11:03 โดย opwnews
0
894

PNSOC600617001005102_17062017_040203

จากกรณี โลกโซเซียลมีการแชร์ภาพแมลงชนิดหนึ่ง พร้อมขอความที่ระบุว่า “เข้ามาในเมืองไทยแล้ว หากโดนเข้าก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต” ไม่ทราบว่าจะแปลชื่อเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร เข้ามาในประเทศไทยเเล้ว พร้อมบอกอีกว่า หากแมลงชนิดนี้ เกาะบนตัวคุณห้ามตบมันเด็ดขาด เนื่องจาก ในตัวมันมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวเเล้วจะเสียชีวิตเเน่นอน พร้อมกับแสดงภาพประกอบ แมลงชนิดหนึ่งด้านหลังมีไข่กลมๆ
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าจากประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกเเชร์ต่อมานานเเล้ว คือเนื้อหาของเเมลงชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “แมลงก้นกระดก” เป็นเเมลงตัวเล็กๆ เรียวยาว สีส้ม เมื่อกัดเเล้วจะมีอาการเเสบร้อนจริง เเต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอย่างที่มีการส่งต่อกัน
ส่วนรูปภาพเเมลงที่ส่งต่อกันนั้นเป็นภาพของ “แมงดานา” เมื่อเวลาถึงฤดูฟักไข่แมงดานาจะแบกไข่ที่เลี้ยงลูกบนหลัง โดยแมงดานี้เป็นตัวผู้ที่แบกไข่แทนตัวเมีย โดยยืนยันว่าสัตว์ชนิดนี้ไม่เป็นอันตราย
นอกจากนี้การแชร์อีกภาพคือ รูปมือที่มีรูขนาดเล็กเยอะๆ ก็มิใช่อาการโดนพิษอย่างที่ส่งต่อเช่นกัน เเต่เป็นภาพจากการเมคอัพด้วย skin wax ที่ทำขึ้นไว้ทดสอบอาการโรคกลัวรู หรือ ทริโปโฟเบีย (Trypophobia)
สำหรับภาพหญิงอายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.5 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่ป่วยและเข้ารับการรักษาตัว ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จังหวัดนราธิวาส จากอาการเป็นโรคหิด ติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งได้เข้ารักษาตัวเรียบร้อยแล้ว
PNSOC600617001005103_17062017_040203



--!>