ซินโครตรอน หนุน ดาวเทียมแนคแซค ดาวเทียมขนาดเล็ก ฝีมือคนไทย

กุมภาพันธ์ 22, 2018 01:04 โดย opwnews
0
889

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกันทดสอบประสิทธิภาพดาวเทียมแนคแซค ดาวเทียมสัญชาติไทย ภายใต้สภาวะสุญญากาศ อุณหภูมิและความดัน คล้ายอวกาศจริง ผลผ่านฉลุย !! พร้อมส่งขึ้นสู่วงโครจร สิงหาคม 2561

เตาเบรสซิ่ง1

ทีมนักวิจัยจาก คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน ประสบความสำเร็จในการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กที่มีขนาด 10 x 10 x 10 เซนติเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ซึ่งดาวเทียมดังกล่าวออกแบบและสร้างในประเทศไทย ด้วยฝีมือคนไทย 100 % และมีชื่อว่า ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT)

ทีมซินโครตรอน-มจพ1 เตาเบรสซิ่ง2
ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา หัวหน้าโครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา หรือ KNACKSAT ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยว่า “ในกระบวนการส่งดาวเทียมขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอวกาศนั้น ขั้นตอนสำคัญที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งคือ การทดสอบประสิทธิภาพของดาวเทียมในสภาวะอวกาศจริงหรือที่ที่อุณภูมิและแรงดันต่างจากพื้นโลก โดยทางคณะผู้วิจัยทราบว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่มีความเชียวชาญในด้านเทคโนโลยีสุญญากาศเป็นอย่างมาก จึงได้นำดาวเทียมแนคแซทเข้ามาทดสอบประสิทธิภาพ เพื่อดูว่าดาวเทียมทนต่อสภาวะอวกาศจริง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงมวลของดาวเทียมภายใต้อุณภูมิและแรงดัน ซึ่งการทดสอบนี้ไม่เพียงแต่เพื่อดูประสิทธิภาพของดาวเทียมเท่านั้น แต่ยังวิเคราะห์ไปถึงผลของดาวเทียมที่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงมวล จะส่งผลกระทบต่อดาวเทียมดวงอื่นๆ หรือจรวดที่ทำการส่งดาวเทียมนี้ขึ้นไปหรือไม่ โดยการทดลองดำเนินการภายใต้มาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นและผลออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

ดาวเทียมแนคแซค ขณะทดสอบ2

การทดสอบ
ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมเพื่อการศึกษาขนาดเล็ก ที่มีความสามารถไม่ต่างจากดาวเทียมขนาดใหญ่ มีภารกิจหลักคือการถ่ายภาพโลกจากอวกาศ ด้วยความละเอียด: 1–2 กิโลเมตรต่อพิกเซล โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุสมัครเล่นในการสื่อสาร พร้อมจัดส่งเข้าสู่วงโคจรที่ความสูง 600 กิโลเมตร ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และเทคโนโลยีสุญญากาศของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ”

ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร
ด้าน ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเดินเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนนั้นต้องใช้ระบบสุญญากาศในการดำเนินงานทั้งสิ้น ดังนั้นประสบการณ์กว่า 10 ปีของงานเทคโนโลยีสุญญกาศ ส่งผลให้เรามีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน ซินโครตรอนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการทดสอบประสิทธิภาพของดาวเทียมแนคแซท ดาวเทียมที่เรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ดาวเทียมฝีมือคนไทย 100% ออกแบบและสร้างในประเทศไทย อีกทั้งการทดสอบระบบต่างๆ ก่อนส่งขึ้นสู่วงโคจร ต่างก็ดำเนินงานด้วยคนไทยอีกด้วย

ดาวเทียมแนคแซค

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีความยินดีให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบงานทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ ส่วนพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายกลุยุทธ์และพัฒนาธุรกิจองค์กร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-9 หรือที่ www.slri.or.th/bdd “

 

พิสิษฐ์  เขื่อนเพ็ชรต์ / ศูนย์ข่าวนครราชสีมา /รายงาน




--!>