ปทุมธานี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีให้เกียรติมาเป็นประธาน พิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาเส้นใยกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดปทุมธานี ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมอาชีพวัดไก่เตี้ย หมู่ที่ 1 ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
ปทุมธานี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีให้เกียรติมาเป็นประธาน พิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาเส้นใยกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 หลักสูตรที่ 1 การแยกเส้นใยกล้วยระหว่างวันที่ 17 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2562 ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมอาชีพวัดไก่เตี้ย หมู่ที่ 1 ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
วันที่ 17 มิถุนายน 2562 เมื่อเวลา 09.30 น.นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมพัฒนาเส้นใยแก้ว เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ(โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี)โดยมี หัวหน้าส่วนราชการพัฒนาการจังหวัดปทุมธานี นายอำเภอสามโคก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง ผู้นำชุมชนและผู้เข้าร่วมอบรม ให้การต้อนรับ ด้านนายวีระชาติ สมบูรณ์วิทย์ พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี กล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้จังหวัดจัดทำโครงการโดยน้อมนำแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นหลักในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ความสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนงบประมาณให้จังหวัด ในกรอบวงเงินไม่เกินจังหวัดละ 250,000 บาท ตามแนวทาง 2 ประเภทได้แก่โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและโครงการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดใช้จ่ายตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ปลูกกล้วยมากกว่า 3,000 ไร่ ปัจจุบันการผลิตและจำหน่ายกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่มากขึ้นโดยต้นกล้วยเนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเกษตรกรจะตัดทิ้งเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกพืชรอบใหม่ปริมาณมากกว่า 30,000 ตันต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกกล้วยน้ำว้าเกือบทุกครัวเรือนมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่เป็นปุ๋ยบนดินซึ่งหากมีการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งในส่วนของกาบและก้านใบของกล้วยนำมาแยกสกัดเป็นเส้นใย
จากการรายงานการวิจัยศึกษาลักษณะและคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใหญ่การปรับปรุงคุณภาพนำมาปั่นเป็นเส้นด้าย เนื่องจากเส้นใยกล้วยมีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรงและเงามันสามารถขึ้นรูปเป็นเส้นด้ายรวมทั้งทอเป็นผืนผ้า และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอถือเป็นการลดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต กล้วย และสร้างมูลค่าด้านการพัฒนาเส้นใหญ่ เส้นใหญ่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอแก่เกษตรกรการนำเส้นใยธรรมชาติจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกใช้ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติให้กับผู้ประกอบการด้านเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอในการผลิตเสื้อผ้าจากเส้นใยกล้วย ซึ่งเป็นแนวโน้มในการผลิตเสื้อผ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เสื้อผ้ากระเป๋าถือหมวกและรองเท้าเป็นต้นสามารถเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทออุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย และภาคเกษตรจังหวัดปทุมธานีจึงเล็งเห็นความสำคัญของกล้วย พืชเศรษฐกิจสำคัญโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานีได้จัดโครงการพัฒนาเส้นใยกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอเพื่อเพิ่มมูลค่าจากต้นกล้วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและนำวัตถุดิบจากทางเกษตรมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด เสนอความเห็นชอบผ่านกลไกคณะกรรมการประสานงานการขับเคลื่อนและขยายผล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดพิจารณากลั่นกรองโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาเส้นใยกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทองบประมาณ 250,000 บาท ให้จังหวัดดำเนินโครงการเบิกจ่ายงบประมาณให้เสร็จภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ประกอบไปด้วยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรมค่าอาหารกลางวันอาหารว่างและเครื่องดื่มและค่าตอบแทนวิทยากร ในการอบรมกลุ่มอาชีพการพัฒนาเส้นใยแก้วเป้าหมาย 30 คน จำนวน 4 หลัก สูตรหลักสูตรละ 3 วันดังนี้ หลักสูตรที่ 1. การแยกเส้นใยกล้วยหลักสูตรที่ 2.การปั่นเส้นด้ายด้วยใยกล้วยหลักสูตรที่ 3. การทอผ้าใยกล้วยหลักสูตรที่ 4. การตัดเย็บผลิตรายและการย้อม การจัดฝึกอบรมตามหลักสูตรนี้จังหวัดปทุมธานีได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดระดับอำเภอผู้บริหารท้องถิ่นผู้นำชุมชน ในหมู่บ้านเป้าหมาย การคาดหวังของโครงการผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเพิ่มพูลมูลค่าจากต้นกล้วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและนำวัตถุดิบจากเกษตรกรมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุดและสร้าง การรับรู้ให้กับผู้เข้าอบรมสามารถขยายผลไปสู่เกษตรกรจังหวัดปทุมธานีให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นทางเลือกอาชีพและรายได้ของชุมชนให้มีความสุขยังยืนต่อไป
สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว 191 ปทุมธานีรายงาน