ปทุมธานี ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ตรวจเยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล จากมูลนิธิชัยพัฒนา ณ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านคลอง 5

ธันวาคม 19, 2019 12:19 โดย opwnews
0
164

IMG_0795IMG_0894 IMG_0802 IMG_0806
IMG_0795

ปทุมธานี ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ตรวจเยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล จากมูลนิธิชัยพัฒนา ณ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านคลอง 5
วันที่ 18 ธ.ค. 62เวลา 10.00 น.ที่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านคลอง 5 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ตรวจเยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล จากมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดเชียงราย จำนวน 12 ตัว เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 10 ตัว เพื่อใช้ในการยายพันธุ์และผลิตลูกผสมสัตว์พันธุ์ดี โดยมี นายสมควร ปิยะพงศ์เดชา ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี นายสมเดช คงกะพันธุ์ เกษตรปทุมธานี นายดอกรัก สุคนธี เกษตรกรปทุมธานี วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านคลอง 5 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมตรวจเยี่ยม แพะแบล็คเบงกอล (BlackBengal Goat)รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศได้น้อมเกล้าฯ ถวายแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal Goat) แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 50 พรรษา และเป็นการแสดงออกซึ่งมิตรภาพ และความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศ ในการนี้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการนำแพะเข้าราชอาณาจักรไทยและน าไปเลี้ยงขยายพันธุ์ส่งเสริมสู่เกษตรกรลักษณะประจำพันธุ์ แพะแบล็คเบงกอลมีขนสีดำหรือสีน้ำตาล แต่อาจพบขนสีอื่น เช่น สีเทา สีขาวได้ มีเขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ใบหูมีขนาดเล็กสั้นและตั้งชี้ไปข้างหน้า จัดเป็นแพะขนาดเล็ก สูง 40-60 เซนติเมตร มีความสมบูรณ์พันธุ์สูงมากบางครั้งพบว่าแพะเพศเมียในฝูงอายุ 8-9 เดือน ตั้งท้องแล้ว และมักให้ลูกแฝด 2-4 ตัว เฉลี่ย 2 ตัวต่อครอกลักษณะทางเศรษฐกิจเป็นแพะที่ให้ลูกดก เลี้ยงง่ายทนต่อโรค เนื้อมีความละเอียดและไม่มีไขมัน หนังมีความนุ่มสามารถเลี้ยงได้ทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทยเหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการเลี้ยงแพะไว้บริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม การจัดการเลี้ยงดูและสุขภาพสัตว์แพะแบล็คเบงกอล เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายมาก ทนต่อโรคและเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เลี้ยงได้ทั้งแบบปล่อยตามธรรมชาติ ขังคอก หรือกึ่งขังกึ่งปล่อย โรงเรือน แพะชอบพื้นที่สะอาดและแห้ง โรงเรือนควรยกพื้นสูง จะช่วยลดปัญหาความชื้นและกลิ่นแอมโมเนียจากมูล แพะ และป้องกันน้ำท่วม ต้องการพื้นที่ภายในโรงเรือนประมาณ 1-1.5 ตร.ม.ต่อตัว มีที่กินน้ำและรางอาหารเพียงพอกับจำนวนแพะ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี  ภาพ/ข่าว รายงาน




--!>