สสส.ร่วมภาคประชาชนอบรมสมาชิกเรียนรู้เกษตรปลอดภัยอันเป็นประโชน์ต่อสังคมพอเพียงตามรอยพ่อของแผ่นดิน
สสส.ร่วมภาคประชาชนอบรมสมาชิกเรียนรู้เกษตรปลอดภัยอันเป็นประโชน์ต่อสังคมพอเพียงตามรอยพ่อของแผ่นดิน
วันที่ 4 ตุลาคม 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)โดยโครงการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน โดย ดร.ณัจยา แก้วนุ้ย ผู้จัดการโครงการฯ นางพิมพ์ปวีณ์ ทองประสงค์ นายกสมาคมธุรกิจอาหารปลอดภัย รพ.สต.ลาดหลุมแก้ว คุณวิไลลักษณ์ ศรีสุระ นักโภชนาการชำนาญพิเศษ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข คุณรัชดา ปั่นสุขผู้จัดการค้าส่งตลาดไท ร่วมกับนางสาวธนพร โพธิ์มั่น ศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย บ้านคลองขวางบน “ฟาร์มเห็ดป้านา” หมู่6 ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี พร้อมด้วยสมาชิกจำนวนกว่า80คนได้ร่วมกันอบรมให้ความรู้และการแลกเปลี่ยน ความร่วมมือเกื้อหนุนในการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และร่วมกันดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์เพื่อสังคม ชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนได้บริโภค ผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างพอเพียง หรือเพิ่มมากขึ้น ได้เข้าถึงระบบการเพาะปลูก เพื่อได้บริโภคผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย ในยามวิกฤติจากโรคระบาดโควิด 19 สร้างความตระหนักด้านอาหารปลอดภัย และสุขาภิบาล โภชนาการที่ดี ควบคู่การสร้างพื้นที่แหล่งเรียนรู้ในการให้บริการอาหารและการจัดการปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดอัตราของภาวะโรคอ้วนในวัยเรียน พัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการเพื่อใช้ใน โครงการอาหารกลางวันที่ปลอดภัยสำหรับเด็กนักเรียน
ทั้งนี้มีสมาชิกภาคีเครือข่ายได้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ รร.บ้านบึง รร.วัดบัวขวัญ รร.ปากคลองสอง รร.ชุมชนวัดเสด็จ รร.สามัคคีประชาราษฎร์บำรุง รร.ท้ายเกาะ ชุมชนหมู่บ้านเจริญลาภ3 ชุมชนบ้านคลองขวางบน ชุมชนธัญยพร ชุมชนวัดเสด็จ ชมรมตลาดสีเขียวเทศบาลนครรังสิต สมาคมธุรกิจการค้าอาหาร และศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยบ้านคลองขวางบน (ฟาร์มเห็ดป้านา) อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ดร.ณัจยา แก้วนุ้ย ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งบริการอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพได้อย่างง่าย สะดวก เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน เกิดความตระหนักรับรู้ในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและ มีโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มการบริโภคผักผลไม้มากขึ้น สู่การมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง เราพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนได้ปลูกพืช ผักที่ปลอดภัยไว้บริโภคเอง ควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจที่เข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน ไม่ได้รับความลำบาก คือ มีกิน มีใช้ และมีเหลือเก็บ ไม่ว่าจะในยามปกติหรือเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลด้านการสร้างความยั่งยืนให้เกิดเป็นชุมชนอาหารต่อไปได้ในอนาคต”