ปทุมธานี นายกฯ เปิดงาน “อาชีวศึกษายกกำลังสอง” เร่งยกระดับอาชีวศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์รองรับตลาดแรงงาน เพิ่มศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล

ตุลาคม 8, 2020 03:16 โดย opwnews
0
214

ปทุมธานี นายกฯ เปิดงาน “อาชีวศึกษายกกำลังสอง” เร่งยกระดับอาชีวศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์รองรับตลาดแรงงาน เพิ่มศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล

S__4415500 S__4415503 S__4415499 S__4415498
วันที่ 7 ต.ค.63 เวลา 08.45 น. ที่ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานการขับเคลื่อนนโยบาย อาชีวศึกษายกกำลังสองและปาฐกถาพิเศษ เร่งยกระดับอาชีวศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์รองรับตลาดแรงงาน เพิ่มศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล โดยมี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผชบ.ภ.1 พล.ต.ต.ชยุต มารยาทตร์ ผบก.ภ.ปทุมธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมพิธี  กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศพร้อมขับเคลื่อนอาชีวศึกษายกกำลังสอง “สู่มิติใหม่อาชีวศึกษาไทย” มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ด้วยศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) เพื่อยกระดับศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของประเทศ พร้อมโชว์ศักยภาพกระแสตอบรับ จากผู้ประกอบการชั้นนำระดับประเทศและระดับโลก โดยเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตร แบบ 1 เอกชนต่อ 1 วิทยาลัย ใน 7 สายงานหลัก รวม 32 แห่ง ตั้งเป้าจัดตั้งศูนย์ HCEC อาชีวศึกษา 50 แห่ง สิ้นปี 2563 และครบ 100 แห่ง ในปี 2564 ประกาศความพร้อมในการสร้างกลไกขับเคลื่อนอาชีวศึกษายกกำลังสอง ด้วยศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) ของอาชีวศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) สู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนงานการปฏิรูปการศึกษายกกําลังสอง โดยมุ่งเน้นให้กระบวนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันอาชีวศึกษา ซึ่งจำเป็นต้อง “ปลดล็อก” จากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมที่ไม่ตอบโจทย์การทำงาน ที่ก่อให้เกิด Skill Gap หรือปัญหาช่องว่างทางทักษะที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานจริง โดยต้อง “ปรับเปลี่ยน” เชื่อมโยงความรู้และทักษะที่จำเป็น และสอดคล้องเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ และ “เปิดกว้าง” ด้วยการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนกำลังคนในทุกมิติสู่ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน ที่ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมต้องการ ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนทักษะกับมืออาชีพในสถานที่จริง เพื่อให้ได้ศักยภาพแรงงานที่ตรงกับความต้องการ และมีความเป็นเลิศอย่างแท้จริง โดยที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาได้มอบหมายนโยบาย ในการสนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศของสถานศึกษา และตามบริบทของพื้นที่ โดยต้องสอดคล้องกับความต้องการด้านแรงงานของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานภาคเอกชน สถานประกอบการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและตั้งศูนย์ HCEC อาชีวศึกษา ให้เป็นอาชีวศึกษาเฉพาะทางตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อบริหารจัดการการเรียนรู้ตามแนวทาง Constructionism, Project Based Learning Authentic Assessment ผ่านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์จากการเรียนในสถานที่จริง หรือสถานการณ์จริง เพื่อยกระดับความสามารถของผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษา ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทั้ง Hard Skills ทักษะความเชี่ยวชาญที่ทำงานได้ทันที และมี Soft Skills ทักษะด้านความคิดและอารมณ์ ที่สอดคล้องกับโลกของการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

S__4415493S__4415505 S__4415507 S__4415497 S__4415511
ทั้งนี้ สถาบันอาชีวศึกษาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการชั้นนำทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก ตลอดจนภาคเอกชนจากสาขาอาชีพต่างๆ ในการผลิตและพัฒนากำลังคน ในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นหลักสูตรอาชีวศึกษาเฉพาะทาง แบบ 1 เอกชน ต่อ 1 วิทยาลัย ใน 7 สายงานหลัก ได้แก่ ปิโตรเคมี (Petrochemical), เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Technology), หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics), เกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming), อุตสาหกรรมการบิน (Aviation Industry), อุตสาหกรรมระบบราง (Railway Industry) และยานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Automotive), และ ธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality Industry) ซึ่งในขณะนี้ ได้รับความร่วมมือในการช่วยกันพัฒนาและยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาจากสถานประกอบการชั้นนำ แล้วกว่า 32 แห่ง และตั้งเป้าหมายจะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศอาชีวศึกษา ให้ครบ 50 แห่งในสิ้นปี 2563 และในปี 2564 ครบ 100 แห่งทั่วประเทศ “ศูนย์ HCEC อาชีวศึกษา มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนานักเรียนอาชีวะ บุคลากรทางการศึกษา และครู ให้เข้ามาใช้ในการ Up-skills และ Re-skills โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อทำให้วิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ จะสามารถสร้างฐานทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีศักยภาพ สามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีทักษะชีวิตที่พร้อมปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 นี้ได้อย่างแข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็จะได้กำลังคนที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการ เมื่อภาคอุตสาหกรรมแข็งแกร่ง ประเทศไทย จะมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น”
สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว ปทุมธานี รายงาน




--!>