ผ่าวิกฤต โควิด-19 เปิดร้าน เปิดเมือง เปิดประเทศอย่างปลอดภัย
กันยายน 9, 2021 00:23 โดย opwnews
0
549
- “ผ่าวิกฤต โควิด-19 เปิดร้าน เปิดเมือง เปิดประเทศอย่างปลอดภัย”
ผลการศึกษาเตรียมความพร้อม “ผ่าวิกฤต โควิด-19 เปิดร้าน เปิดเมือง เปิดประเทศอย่างปลอดภัย” โดยคณะศึกษาจากกรมอนามัย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพ “อร่อยได้..ไร้แอลกอฮอล์” และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างการจัดการ แนวทาง สังเคราะห์ วิเคราะห์ องค์ประกอบ ทางเลือกและความจำเป็น ในการเปิดร้าน เปิดเมืองและเปิดประเทศ ได้อย่างปลอดภัย โดยการประเมินปัจจัยอนาคต (Delphi) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน สำรวจ เจ้าของกิจการ 105 แห่ง และประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 30 คน จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเปิดร้านอาหารในวิกฤติให้ปลอดภัย ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ คือ 1. ปัจจัยด้านการคัดกรอง ตรวจสอบ 2. ปัจจัยด้านวัคซีน 3.ปัจจัยด้านสุขลักษณะ 4. ปัจจัยด้านระยะห่างและลดการแออัด 5.ปัจจัยด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
โดยมีมาตรการและตัวชี้วัดในแต่ละปัจจัยจำแนกตามพื้นที่เสี่ยง สอดคล้องกับหลักวิชาการ 4 หลักการ คือ หลักระบาดวิทยา หลักการควบคุมและป้องกันโรค หลักการอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยได้แปลงสู่การปฏิบัติได้จริงผ่าน HDC Platform ที่ตรงกับมาตรการ กฎหมายของภาครัฐที่กำหนดตาม พรก. ฉุกเฉินฯ จึงสามารถที่จะนำข้อเสนอจากการศึกษาครั้งนี้ นำไปเป็นแนวทางเพื่อมาตรการ ปรับปรุงกิจการค้าอาหารตามหลักการ New Normal และ Disruptions ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ให้สามารถเปิดกิจการให้ปลอดภัยในยุควิกฤติ โควิด 19 โดยกิจการค้าอาหารจะเปิดกิจการได้ จะต้องมีข้อปฏิบัติหลักตามปัจจัยที่ได้ศึกษา ประกอบไปด้วย
1. กิจการค้าอาหารต้องจัดให้มี การคัดกรองเบื้องต้น ก่อนเข้าปฏิบัติงานของพนักงาน ผู้รับบริการ หรือผู้ที่มาใช้บริการ ตามที่กิจการค้าอาหารกำหนดตามเจ้าพนักงานควบคุมโรคของพื้นที่กำหนดที่สำคัญประกอบไปด้วย การวัดอุณภูมิ การซักประวัติ การประเมินความเสี่ยงด้วย Application ที่ทางภาครัฐมีให้ พร้อมข้อกำหนด เงื่อนไขการบริการ และการแสดงผลการรับรอง 2. กิจการค้าอาหารในพื้นที่เสี่ยงจะต้องกำหนดมาตรเป็นระดับการต่อพนักงาน และผู้มารับบริการ จะต้องมีการฉีดวัคซีนตามที่ภาครัฐกำหนดมีหลักฐานรองรับ หรือกำหนดการตรวจ Antigen ก่อนเข้ารับบริการเป็นต้น 3. กิจการค้าอาหารจะต้องมีมาตรการสนับสนุน ตรวจสอบ เข้มงวด และประเมิน การปฏิบัติด้านสุขลักษณะ (Hygiene) ของพนักงาน และผู้มาใช้บริการ ประกอบด้วยมาตรการสำคัญ คือ ใส่แมส ถูกต้อง มีจุดล้างมือ บริการน้ำยาล้างมือ สเปรย์ alcohol โดยทำงานร่วมกับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เป็นต้น 4. กิจการจะต้องปรับปรุงพื้นที่บริการ ให้มีการเว้นระยะห่าง และลดการแออัด อย่างเคร่งครัด ตามที่ภาครัฐกำหนด เช่น ร้อยละของพื้นที่บริการ อุปกรณ์หรือฉากพลาสติกป้องกัน จำนวนคนต่อโต๊ะ รวมถึงมาตรการระยะเวลาที่ใช้บริการต่อคน เป็นต้น 5. กิจการต้องดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้ได้มาตรฐาน ในการลดตัวเชื้อ และจัดการสื่อกลางที่จะแพร่กระจายเชื้อ โดยการประเมินเจ้าของกิจการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ผ่าน Application ที่ภาครัฐกำหนด ปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ประกอบด้วย
การจัดการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด ระบบอากาศ(ห้องแอร์) การถ่ายเทอากาศ ให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน
จัดการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด วัสดุอุปกรณ์ ที่บริการ ทุกชนิด
จัดหาวัตถุดิบอาหาร ปรุงประกอบและจำหน่าย ที่สะอาด ปลอดภัย เพียงพอ
จัดบริการน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด ปลอดภัย
จัดจัดการขยะที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จัดการน้ำเสีย น้ำทิ้ง ที่เกิดจากิจการให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
จัดการปฏิกูล ที่เกิดจากห้องน้ำ ห้องส้วม ให้ได้มาตรฐาน
จัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่จำเป็น รวมไปถึง Safe area และแผนฉุกเฉินหากพบคนติดเชื้อในกิจการค้าอาหาร
“ทั้งนี้ การปฏิบัติดังกล่าว ได้พัฒนามาเป็น HDC Platform หรือ DMHTTA จากภาครัฐ และได้ประกาศให้ ประชาชน ได้ทำ Universal Prevention ในปัจจุบัน จากมาตรการที่เสนอของผู้ศึกษา โดยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเพื่อยืนยันและประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ต่อการผ่าวิกฤติ โควิด 19 นำไปสู่การเปิดกิจการ เปิดเมือง เปิดประเทศปลอดภัย เดินหน้าขับเคลื่อน สังคมเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับระบบการสาธารณสุข ของประเทศต่อไป “ นายธนชีพ พีระธรณิศร์ ผอ.ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย” กล่าว
เศรษฐกิจ-เกษตร
เรื่องมาใหม่