มรภ.วไลยอลงกรณ์ สุดเจ๋ง คว้า สุดยอดแชมป์ประเทศไทย U2T for BCG National Hackatron 2022
มรภ.วไลยอลงกรณ์ สุดเจ๋ง คว้า สุดยอดแชมป์ประเทศไทย U2T for BCG National Hackatron 2022
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คว้าแชมป์ ประเทศไทย U2T for BCG National Hackathon 2022 สำหรับการประกาศผลการประกวดครั้งนี้ จัดขึ้นโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการแข่งขันชิงแชมป์ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะในโครงการ “U2T for BCG” ที่เปิดโอกาสให้ทีม อว.ประมาณ 6.5 หมื่นคน มาร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์หรือสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับ BCG เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ให้กับพื้นที่และสามารถปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรมใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเกษตรและอาหาร 2.ด้านสุขภาพและการแพทย์ 3.ด้านพลังงานและวัสดุ และ 4.ด้านพลังงานและกาท่องเที่ยว ทั้งนี้ ในรอบชิงชนะเลิศมี 36 ทีมสุดท้ายเข้าแข่งขัน หลังฝ่าฟันจากผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 308 ทีม จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG กล่าวว่า กิจกรรม U2T for BCG National Hackathon คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการ U2T for BCG กว่า 65,000 คน ได้เข้าร่วมระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าแและบริการ U2T for BCG ผ่านกระบวนการ Hackathon คัดเลือกจากผลงานกว่า 15,000 สินค้าและบริการใน 7,435 ตำบล คัดเหลือ 36 ทีม สุดยอดผ่านเข้ารอบสุดท้ายโดยได้มีการจับคู่กับหน่วยงานใน อว.ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเข้าสู่การแข่งขันชิงแชมป์ระดับประเทศ “กิจกรรมนี้ถือเป็นการใช้พลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาประเทศ ผ่านการระดมสมองของเยาวชน อาจารย์นักวิชาการ และประชาชน จากการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนจริง ผลแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะทุกไอเดียของการพัฒนาที่ทุกคนนำเสนอจะเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชุมชนที่เราอยู่อย่างแน่นอน”
ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทีมแซ่บอีรี่ คว้ารางวัลที่ 1 ด้านเกษตรและอาหาร จากผลงาน “เส้นบะหมี่อบแห้งจากดักแด้ไหมอีรี่” ที่เป็นการลดขยะจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ให้เป็นศูนย์ โดยนำเอาดักแด้ที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และใช้เทคโนโลยี ไม่ซับซ้อน สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยไม่เหลือส่วนที่เป็นขยะทิ้งไว้ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อ.ดร.จารุนันท์ ไชยนาม อาจารย์ผู้ดูแล ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว กล่าวว่า รู้สึกดีใจ และภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ทางทีมได้รับรางวัลที่ 1 ด้านเกษตรและอาหาร จากผลงาน “เส้นบะหมี่อบแห้งจากดักแด้ไหมอีรี่” ในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ ท่านอธิการบดี ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว ที่ให้การสนับสนุน รวมถึงท่านผู้บริหาร ที่คอยให้คำแนะนำ คอยเป็นกำลังใจ มาโดยตลอด ขอบคุณภาคีเครือข่ายภาครัฐในพื้นที่ตำบลทัพเสด็จ ประชาชนตำบลทัพเสด็จ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไหมอีรี่และแปรูปผลิตภัณฑ์จากรังไหมอีรี่ ถ้าไม่มีทุกฝ่ายช่วยกัน ก็คงไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รางวัลที่ 1 ในครั้งนี้
สำหรับคณะผู้ดำเนินโครงการประกอบด้วย อ.ดร.จารุนันท์ ไชยนาม อาจารย์หัวหน้าโครงการ อ.เพ็ญศรี ชิตบุตร อ.ไชยวัฒน์ สมสอางค์ อ.นักพัฒนาท้องถิ่น นายสรวิชญ์ เอี่ยมสะอาด น.ส.อรวรรณ ติ่งไสว น.ส.อนุธิดา ฤทธิ์งาม น.ส.สุภาภรณ์ บุญเจียม และน.ส.เพ็ญแข ภูภราดัย
สหรัฐ แก้วตา หน ข่าว ปทุมธานีรายงาน