ปทุมธานี เกษตรจังหวัดปทุมฯ เสนอกะเพราเงินล้านร่วมใจแก้จน ชิงรางวัลเลิศรัฐประจำปี 67
ปทุมธานี เกษตรจังหวัดปทุมฯ เสนอกะเพราเงินล้านร่วมใจแก้จน ชิงรางวัลเลิศรัฐประจำปี 67
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และที่ตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ผักตำบลหน้าไม้ หมู่ที่ 5 ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี ได้นำเสนอผลงาน “ร่วมใจแก้จนกะเพราเงินล้านปทุมธานี” เข้ารับการประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี พ.ศ. 2567
โดยคณะกรรมการการประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน เข้ารับการประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี ผลงาน “ร่วมใจแก้จนกะเพราเงินล้านปทุมธานี” มี นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ร้อยตำรวจตรีหญิง สายสุนี ไกรนรา นายอำเภอลาดหลุมแก้ว หัวหน้าส่วน ราชการทุกหน่วยงาน ภาคเอกชนบริษัท ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ซีพีแรม ท็อปส์ ซูเปอร์ มาร์เก็ต เครือเซ็นทรัล บริษัทส่งออก และตลาดในพื้นที่ ให้เกียรติมาร่วมต้อนรับ และเข้ารับการตรวจประเมินจาก คณะผู้ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี พ.ศ. 2567 ของจังหวัดปทุมธานี โดยการดำเนินงานร่วมใจแก้จนกะเพราเงินล้านปทุมธานี
นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า การดำเนินงานร่วมใจแก้จนกะเพราเงินล้านปทุมธานี เริ่มต้นจากเกษตรกรได้ปลูกกะเพราสายพันธุ์ทั่วไปเป็นอาชีพจากนั้นได้รวมตัวกันจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลหน้าไม้และได้มีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพ สร้างอัตลักษณ์ให้แก่กะเพราตำบลหน้าไม้ โดยปรับเปลี่ยนจากกะเพราสายพันธุ์ทั่วไป
เป็นกะเพราป่า เพราะกะเพราป่าที่มีกลิ่นหอม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากการดำเนินกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย เกษตรกรได้ร่วมกันยกระดับมาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกะเพรา โดยสร้างโรงเรือนคัดแยกผลผลิตที่ได้มาตรฐาน และรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ผักตำบลหน้าไม้ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 31 ราย พื้นที่ 220 ไร่ ซึ่งมีการดำเนินงานตามเป้าหมายของแปลงใหญ่
5 ด้าน ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต จนบรรลุตามเป้าหมาย สามารถลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 21.5 เพิ่มผลผลิตร้อยละ 8.3 และกะเพราของตำบลหน้าไม้เป็นที่ยอมรับ
มีตลาดรองรับที่แน่นอน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนตลอดปี.