สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี เทศบาลตำบลสามโคกและวัดสิงห์ ทำบุญตักบาตร พระร้อย ประจำปี 2560 ณ วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ตุลาคม 10, 2017 07:03 โดย opwnews
0
1010

284655

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี เทศบาลตำบลสามโคกและวัดสิงห์ ทำบุญตักบาตร พระร้อย ประจำปี 2560 ณ วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธาน

284764 284674

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ 2560 เมื่อเวลา 07.30 น. นายเอนก สมบุญนายกเทศมนตรีตำบลสามโคก นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ มอบหมายให้ นายเลิศศักดิ์ ภัทรสิริเมธากุล นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นายประสิทธิ์ ชมสุนทร ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลสามโคก นายประกอบ ทองสีสังข์ กำนันตำบลสามโคก เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี พ่อค้าประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

284658 284963

ประเพณีตักบาตรพระร้อย มีมาช้านานนับหลายร้อยปีแล้ว จะทำในเทศกาลออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 เป็นต้นไป การตักบาตรพระร้อยนี้ทางวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่งจะตกลงการกำหนดแข่งขันเป็นเจ้าภาพเพื่อไม่ให้ตรงกัน การกำหนดวัดใดวัดหนึ่งจะทำบุญตักบาตรพระร้อยในวันใดได้ตกลงกัน ดังนี้คือในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือน 11 จะทำที่วัดต่างๆ ตามระดับ วัดแต่ละวัด วัดมะขาม วัดหงษ์ปทุมาวาส วัดสำแล วัดบางหลวง วัดโบสถ์ กลับวัดไผ่ล้อม วัดไก่เตี้ย วัดสิงห์ วัดบางนากับวัดบ่อทอง วัดดาวเรืองกับวัดชินวราราม วัดบางโพธิ์เหนือวัดบ้านพร้าวในวัดบ้านพร้าวนอกกับวัดชัยสิทธาวาส วัดเสด็จ ตักบาตรเทโว สำหรับวันแรม 13 ค่ำและวันแรม 14 ค่ำไม่มีการทำบุญวันสิ้นสุดในวันแรม 15 ค่ำคือวัดโพธิ์เลื่อน จากการสอบถามนายเอนก สมบุญได้เล่าถึงประวัติของวัดสิงห์ว่าวัดสิงห์ เป็นวัดตั้งอยู่ริมคลองไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกบริเวณคุ้งน้ำที่กว้างใหญ่ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ซึ่งขุดลัดเตร็ดใหญ่ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตรงหน้าวัดไก่เตี้ย

285657 285032
ที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากริมแม่น้ำลึกเข้าไปประมาณ 500 เมตร โดยมีลำคลองสำหรับเรือเข้าออก เรียกว่า “คลองวัดสิงห์” อยู่ทางทิศใต้ของวัด แผ่นดินบริเวณนี้เรียกว่า “บ้านสามโคก”
“วัดสิงห์” เป็นวัดโบราณเก่าแก่คู่เมืองสามโคกมานาน สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดร้างที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งกรุงอยุธยาเป็นราชธานี สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อพม่ารบกับจีน ในปี พ.ศ.2022 ชาวมอญที่ถูกเกณฑ์เข้าร่วมในกองทัพพม่า ได้พากันหลบหนีจากกองทัพพม่า โดยพาครอบครัวประมาณ 10,000 คน ออกจากแว่นแคว้นเมืองเมาะตะมะ มาทางเมืองสมิ ถึงด่านพระเจดีย์ 3 องค์ ในปีระกา นพศกนั้น จึงสมิงนายอำเภอทั้ง 11 นาย ก็แต่งหนังสือบอกให้รามัญ ถือเข้ามาแจ้งกิจการแก่พระยากาญจนบุรีว่าจะเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท พระยากาญจนบุรีก็ส่งหนังสือบอกเข้ามาถึงอัครมหาเสนาธิบดี ให้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือกให้ทรงทราบเหตุ ก็ทรงพระโสมนัสดำรัสให้สมิงรามัญเก่าในกรุงถือพลพันหนึ่ง ออกไปรับครัวเมืองเมาตะมะเข้ามายังพระมหานคร แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้พวกครัวมอญใหม่ไปตั้งบ้านเรือนอยู่สามโคกบ้าง ที่คลองคูจามบ้าง ที่ใกล้วัดตองปุบ้าง โดยพระภิกษุที่อพยพหนีศึกพม่ามาด้วยกันได้อยู่พักจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ดังนั้น วัดสิงห์จึงเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสามโคกที่มีมาก่อนชาวรามัญจะอพยพเข้ามาอยู่บ้านสามโคก
ต่อมาราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อเนื่องถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนชุมชนบริเวณอำเภอสามโคกมากขึ้น และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ จนเป็นวัดมอญดังเช่นปัจจุบัน จากนั้นผู้สื่อข่าวได้สอบถามรายนายละเอียด พุ่มแก้ว ชาวบ้านตำบลสามโคกที่มาร่วมทำบุญตักบาตรพระร้อยในวันนี้กล่าวว่า วันนี้ เป็นวันดีได้พาครอบครัว พร้อมด้วยลูกสาวลูกชายมาร่วมทำบุญตักบาตรพระร้อยที่วัดสิงห์เพื่อ เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และอยากจะให้เขาได้รู้ ว่าการตักบาตรพระร้อยเป็นอย่างไร อยากให้เขาสืบสานประเพณีอันดีงาม ของการตักบาตรพระร้อยไว้เพื่อให้ลูกหลานได้นำไปศึกษาไป
สหรัฐ แก้วตา ปทุมธานีรายงาน




--!>