ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา เมืองพัทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการนิเทศภายในเชิงรุกเพื่อสร้างครูต้นแบบ 4.0

มกราคม 18, 2017 13:41 โดย opwnews
0
1384

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา เมืองพัทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการนิเทศภายในเชิงรุกเพื่อสร้างครูต้นแบบ 4.0
S__17694886
เมื่อวันที่9-13มกราคม2560 ที่ โรงเรียนเมืองพัทยา1 (เชิญ พิศลยบุตรราษฎร์บำเพ็ญ) หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา เมืองพัทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการวิจัยและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้(R&D) : หลักสูตรการนิเทศภายในเชิงรุกด้วย Coaching&Mentoring by lesson study through Professional learning community เพื่อสร้างครูต้นแบบ 4.0:Teacher Model 4.0 โดย ได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์และรศ.พเยาว์ ยินดีสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนจาก จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยมาเป็นวิทยากรตลอดหลักสูตรก้าวย่างเชิงรุก…สู่ Education 4.0 สร้างครูต้นแบบ 4.0 ใน 3 ระดับ คือ ปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยเริ่มต้นที่รายวิชาหลัก คือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมให้ครูต้นแบบสอนสืบสอบ สอนเด็กทำโครงงาน และครูทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การปฏิรูปการเรียนรู้ระดับห้องเรียน จะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ซึ่งแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่บนฐานความคิดที่เชื่อว่า รูปแบบการศึกษาแบบดั้งเดิมในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นย้้าแต่การเรียนและท่องจ้าเนื้อหาในสาระวิชาหลัก อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศึกษา ไม่เพียงพอส้าหรับในการด้ารงชีวิตและการท้างานในศตวรรษใหม่ภายใต้ความท้าทายใหม่อีกต่อไปแล้ว
ดังนั้นแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั้น จึงให้ความส้าคัญกับการปลูกฝัง “ทักษะ” ที่จ้าเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการท้างาน ทักษะด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคู่กับ “เนื้อหา” ในสาระวิชาหลักและความรู้อื่น ๆ ที่ส้าคัญในศตวรรษที่ 21 เช่น ความรู้เรื่องโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านพลเมือง ความรู้ด้านสุขภาพ และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านหลักสูตรที่กระชับ (lean curriculum) และบูรณาการ (interdisciplinary curriculum)เพื่อสร้างนักเรียนที่มี “คุณลักษณะ” อันพึงประสงค์ของโลกศตวรรษที่ 21 นั่นคือ รู้จักคิด รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และท้างานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดชีวิต
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจของทักษะเพื่อการด้ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ (learning how to learn)ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา (problem solving) หมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking) 2. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration) หมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating) 3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) หมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์ผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในการด้ารงชีวิต เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง และเพื่อการท้างานอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งที่มีคุณค่าต่อการด้ารงชีวิตในโลกของการท้างานที่เน้นความรู้ เป็นการท้าทายว่า ผู้สอนจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีทักษะเหล่านี้ติดตัว
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียนรู้เพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นการท้าทายว่าผู้สอนจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนมีทักษะเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่สามารสอนได้โดยตรง แต่จัดกระบวนการเรียนรู้ได้แนวคิดส้าคัญของการบ่มเพาะทักษะทั้ง 3 คือ การฝึกตั้งค้าถามผู้สอนจึงต้องชักจูงหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตั้งค้าถามแปลก ๆ และช่วยกันหาวิธีทดลองหรือค้นคว้าเพื่อตอบค้าถามนั้นซึ่งการบ่มเพาะดังกล่าวเป็นกิจกรรม Active Learning (กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps) ที่จะช่วยให้ผู้เรียนกระตื้อรื้อร้น กระหายใคร่รู้ น้าไปสู่การทดลอง หรือการลงมือปฏิบัติจริง
การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประเทศต่างๆได้ด้าเนินการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับโอกาส ความเสี่ยง และภัยคุกคามชุดใหม่ โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและวัฒนธรรมการด้ารงชีวิต การท้างาน และการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพในทุกภาคส่วนและปรับเปลี่ยนให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ซึ่งประเทศไทยได้ก้าหนดเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของประเทศ4.0คือ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่งภายในปี 2575 ซึ่งการเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งในบริบทของประเทศไทยมีคุณลักษณะ 6 ประการด้วยกัน คือ 1.มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและวัฒนธรรมของตน 2. พัฒนาคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3. มีสังคมที่มีคุณภาพ 4. มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ 5. มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง 6. การมีบทบาทส้าคัญในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก
ทั้งนี้กลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรม พัฒนาไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนผ่านจากโมเดลประเทศไทย 3.0 เป็น “โมเดลประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ปรับเปลี่ยนจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็นประเทศ “รายได้สูง” ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย“นวัตกรรม”ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคนี้จึงมุ่งไปสู่การพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพในการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพและปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ประเทศในโลกที่หนึ่ง




--!>