ปทุมธานี นายอำเภอสามโคกให้เกียรติมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดงานมหกรรมแสดงและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอสามโคก ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม ณ บริเวณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม.เก่า) ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ตุลาคม 20, 2018 08:13 โดย opwnews
0
835

902993 903001 903055

ปทุมธานี นายอำเภอสามโคกให้เกียรติมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดงานมหกรรมแสดงและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอสามโคก ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม ณ บริเวณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม.เก่า) ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

903002 903125 903057 903006 903004 903003
วันที่ 20 ตุลาคม 2561 เมื่อเวลา 11.00 น.นางสาวกันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน นายอำเภอสามโคกให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานมหกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีนางอังคณา คุปติศิริรัตน์ พัฒนาการอำเภอสามโคก หัวหน้าส่วนราชการทุกท่าน นายกเทศมนตรีตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน-ผู้ใหญ่ บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน คณะกรรมการบริหารชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีและผู้ผลิต ผู้ประกอบการทุกท่านที่มาร่วมงาน

903128 903130 903129 903127 902995 903051
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้สอบถามนางสาวกัน ตรัตน์เริ่มสูงเนินนายอำเภอสามโคกกล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนำเนินการ ร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และได้จัดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและมีรายได้ที่ดีขึ้นรวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ. ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนและพันธกิจกระทรวงมหาดไทยข้อ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจรากฐานโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนพระกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชนในการสร้างเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานให้มีความมั่นคง และมีเสถียรภาพรวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชนใน ปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนซึ่งโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นโครงการหนึ่งที่ใช้งบประมาณภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีที่พัฒนาการอำเภอสามโคกได้กล่าวแล้วนั้นเป็นการนำเสนอในแต่ละชุมชนออกมาให้เห็นความสำคัญความโดดเด่นเป็นจุดเชื่อมเส้นทางการท่องเที่ยวภายในอำเภอจังหวัดเพื่อดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนจึงถือเป็นการสร้างโอกาสในการขายสินค้าให้กับผู้โดยผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และเกิดการกระจายรายได้ให้กับคนชุมชนอีกทั้งในระยะยาวยังเป็นการช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับลูกหลานไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นส่งผลให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นอยู่กับบ้านมีอาชีพมีรายได้และมีงานทำเกิดชุมชนเข้มแข็งอีกทั้งยังรักษาวิถีชีวิตศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไว้อย่างภาคภูมิใจ ในโอกาสนี้ดิฉันขอขอบพระคุณสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคกหน่วยงานทุกภาคส่วนผู้นำชุมชนผู้ผลิตสินค้าชุมชนตลอดจนผู้ประกอบการทุกท่านที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนแนวนโยบายของรัฐบาลสุดท้ายนี้ขออำนวยพรให้การจัดงานในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทุกประการและขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านครบนับถือโปรดดลบันดาล ประทานพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป ด้านนางอังคณา คุปติศิริรัตน์ พัฒนาการอำเภอสามโคก กล่าวต่อว่า อำเภอสามโคกโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคกได้ดำเนินการโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจำนวน 3 หมู่บ้านประกอบไปด้วย 1. บ้านท้ายดงหมู่ 1 ตำบลบางกระบือ 2. บ้านท่าลาน หมู่ 2 ตำบลกระแชง 3. บ้านทางยาว หมู่ 8 ตำบลคลองควาย โดยมีการ ขบวนงานการขับเคลื่อนโครงการ 4 กระบวนงานได้แก่การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่นและส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยวโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นววัติวิถี หรือที่เรียกกันว่า ” แอ่งเล็ก เช็คอิน” เป็นแนวความคิดในการพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนมุ่งหวังให้เกิดการกระจายสินค้า กระจายรายได้ และสร้างชุมชนเข้มแข็งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทั้งระบบโดยใช้เสน่ห์จากภูมิปัญญาวิถีชีวิตวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากภายนอกเข้ามาสู่หมู่บ้าน ให้ชาวบ้านสามารถขายผลิตภัณฑ์อยู่ในชุมชนของตนเองไม่ต้องออกไปจำหน่ายสินค้าภายนอกบ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ให้คนภายในชุมชนทำให้เกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชนอันจะส่งผลให้ลูกหลานในชุมชนไม่ต้องออกไปหารายได้จาก ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนา OTOP จากรูปแบบเดิมที่เน้นการผลักดันผลิตภัณฑ์ไปขายในตลาดต่างๆอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลท่านจะกล่าวทิ้งท้ายไว้
สหรัฐ แก้วตา ปทุมธานีรายงาน




--!>