จังหวัดนครราชสีมาจับมือมรภ. สถาบันฯลาดกระบังและเครือข่ายฯจัดเวทีศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย ”

มกราคม 16, 2019 13:37 โดย opwnews
0
1144

Capture13

วันนี้ (16 ม.ค.62) เวลา 09.30 น. ที่หอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รองศาสตราจารย์ ดร.สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดโครงการผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของประชาคมจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การวิจัย “ การศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย ” โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้น ซึ่งเป็นแนวเส้นทางรถไฟผ่าน ซึ่งสถานีปากช่อง,นครราชสีมา และบัวใหญ่ จากนั้นเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาคม โดยมีนายธนพล จรัลวณิชวงศ์ หัวหน้าสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นผู้ตอบข้อซักถามและชี้แจงข้อมูล

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าวก็เพื่อยืนยันและเติมเต็มข้อมูลจากผลการศึกษาในการจัดทำ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนหรือจัดเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หนองคาย ดังกล่าว

รองศาสตราจารย์ ดร.สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายดำเนินโครงการภายใต้ความร่วมมือพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 837 กิโลเมตร ที่เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งโครงการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบเชิงบวกและลบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน บริเวณสถานีรถไฟ จังหวัด และอำเภอที่สถานีรถไฟตั้งอยู่ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดนครราชสีมา และสถาบันเครือข่ายจึงได้ทำการศึกษาวิจัย ผลกระทบจากการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หนองคาย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) สถานภาพปัจจุบัน (Existing Condition) ของพื้นที่ ที่รถไฟวิ่งผ่าน และบริเวณโดยรอบสถานี 2) ผลกระทบด้านการก่อสร้างและบริบทของสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป 3) ผลกระทบด้านการค้าการลงทุน 4) ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและบริการ และ 5) ผลกระทบด้านการเคลื่อนย้ายประชากร โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในจังหวัดและอำเภอตลอดเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านและบริเวณที่สถานีรถไฟตั้งอยู่ ทั้งการแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม ซึ่งขณะนี้คณะนักวิจัย ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดเวทีนำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้นแก่ประชาคมและรับฟัง ความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต่อไป




--!>