ปทุมธานี มรภ.วไลยอลงกรณ์ เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึบซับแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ตุลาคม 8, 2019 03:22 โดย opwnews
0
351

1 68261027_2206741366119598_1155504412039315456_n 68439358_2206741349452933_4431526421126447104_n 69084095_2213099252150476_8815549842534170624_n 69102608_2429026437189993_6973348071887339520_n 69242306_2427279637364673_8246575656314339328_n 69582193_2223509637776104_368101237255569408_n 70423354_478159369694190_7026880625869062144_n

ปทุมธานี มรภ.วไลยอลงกรณ์ เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึบซับแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีรากฐานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 โดยเป็นมหาวิทยาลัยที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัย มีแหล่งเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับการยอมรับกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันนำมาสู่แนวทางการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ บุคลากร นักศึกษา ลงปฏิบัติจริง โดยใช้หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วยพื้นที่นา, พื้นที่เพาะปลูก, เลี้ยงสัตว์, พื้นที่กักเก็บน้ำ การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด และพื้นที่พักอาศัย ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่เงียบสงบ นอกจากจะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ของบุคคลากร นักศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้เปิดโอกาส ให้หน่วยงาน รวมถึงผู้ที่สนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง นอกจากสนุกแล้วยังได้ความรู้กลับไปด้วย เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเพาะเลี้ยงพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ แปลงเลี้ยงเมล่อน การปักดำนา เป็นต้น

IMG_9640 71263755_2526030347445668_6389393503595528192_n 70864672_2486061441486492_3895206398811701248_n 70503235_2339259716339368_7045863397769871360_n
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ของเรา ยังมีห้องนิทรรศการ ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ ในส่วนของนิทรรศราชภัฏ เพื่อศึกษาถึงประวัติของสมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ องค์ประทานกำเนิดมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยจะมีวิทยากร ให้ความรู้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หน่วยงานใด หรือท่านใดสนใจที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้ สามารถติดต่อมาได้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ อธิการบดีกล่าว น.ส.วิราภรณ์ เกตุอรุณ คุณครูโรงเรียนวัดธรรมนาวา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า รู้จักโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เพราะมีเพื่อนอยู่ในมหาวิทยาลัย ได้ขับรถผ่าน และเห็นทางfacebookของเพื่อน เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การเรียนรู้ของนักเรียนมากๆ จึงได้พานักเรียนที่ตัวเองรับผิดชอบ เข้ามาศึกษาหาความรู้ พร้อมทั้งได้นำความรู้ที่ได้รับกลับไปทำที่บ้าน และได้บอกต่อให้กับคนในครอบครัว ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงให้ได้รับประโยชน์ด้วย นายประสงค์ มงคล สาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่า ผมเข้ามาศึกษาหาความรู้ทางการเกษตรจากศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพราะมีความหลากหลายของพันธุ์พืช สามารถสอบถามหาความรู้ได้ทั้งอาจารย์ และพี่ๆเจ้าหน้าที่ และได้นำความรู้ที่ได้รับกลับไปใช้กับการปลูกพืชผักสวนครัวที่บ้าน นอกจากนั้นยังเรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพด้วย.
สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว ปทุมธานี รายงาน




--!>