คณะUSAIDศึกษาดูงานตัวอย่างความสำเร็จด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

พฤษภาคม 15, 2017 01:42 โดย opwnews
0
915

คณะUSAIDศึกษาดูงานตัวอย่างความสำเร็จด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย
DSC_0681
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2560ที่ผ่านมาองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา(U.S Agence for international development USAID)นำคณะทำงานด้านการบริหารจัดการน้ำจากประเทศต่างๆทั่วโลกกว่า10ประเทศ มาศึกษาดูงานรับคลังข้อมูลน้ำระบบภูมิอากาศแห่งชาติ รับบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการน้ำ และระบบคาดการสภาพอากาศ ที่พัฒนาโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สสนก. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น14 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จากนั้นคณะจาก USAID ได้เดินทางมาเยี่ยมชมตัวอย่างความสำเร็จด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชน ณ ชุมชนคลองรังสิต ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี โดยมีนายอักษร น้อยสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ และบรรยายในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอย่างละเอียด ซึ่งชุมชนคลองรังสิตนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จของการน้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาการบริหารจัดการน้ำชุมชน จนประสบผลสำเร็จ พื้นที่ชุมชนคลองรังสิต มีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำเกษตรกรรมร่องสวนเป็นอาชิพหลัก วิถีชีวิตพึ่งพาแหล่งน้ำจากคลองรังสิต เพื่อการเพราะปลูก คมนาคม อุปโภค และบริโภค แต่เดิมเกษตรกรทำสวนส้ม แต่ประสพปัญหาโรคส้มระบาด และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรจึงเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และน้ำท่วมขังได้นานกว่า1เดือน ประกอบกับในปี2554ที่เกดมหาอุทกภัย พบว่าคลอง8 – 9 – 10 สามารถเก็บกักน้ำและหน่วงน้ำไว้ตามคลองหลัก คลองซอย และร่องสวนปาล์มน้ำมัน จึงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัยครั้งนี้ แต่ด้วยโครงสร้างควบคุมระดับน้ำที่มีในพื้นที่ ชำรุดและไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพทำให้ชุมชนหันมาบริหารจัดการน้ำควบคู่กับการปรับวิถีเกษตรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของพื้นที่ และในปี2555 ด้วยน้ำพระทัยของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ทรงสนับสนุนแนวทางการบริ หารจัดการน้ำ โดยพระราชทานเงินบริจาคของวิทยาลัยกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ สสนก.ใช้ดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นแก้มลิงเพิ่มรายได้ในพื้นที่เกษตรทุ่งรังสิต เป็นพื้นที่หน่วงน้ำก่อนเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในบริเวนพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมาก รวมทั้งแก้ปัญหาการทำการเกษตรดินเปรี้ยว และการขาดแคลนน้ำในการเพราะปลูกให้กับคนชุมชน จึงทำให้สังคมชุมชนในพื้นที่ได้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมของคนในชุมชน และการพัฒนาพื้นที่คลองรังสิตเป็นแก้มลิงแบบเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ ปัจจุบันได้ขยายผลรวม 8 ตำบล 2 อำเภอแล้ว นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จ ให้กับชุมชนอื่นได้ศึกษาเรียนรู้น้อมเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในท้องถิ่นต่อไป ซึ่งคณะฯได้เยี่ยมนำแนวทางพระราชดำริ และแนวทางการทำงาน ไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง เพื่อคุณภาพชีวิตความชมดูงานการบริหารจัดการน้ำชุมชน แบ่งเป็น3ด้าน จำนวน 4 จุดงาน ประกอบด้วยด้านที่ 1 การรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลด้วยอุปกรณ์ติดตามสถานการณ์น้ำอัตโนมัติ หรือมีเดียบ็อกซ์(Media BOX)ซึ่ง สสนก.ได้พัฒนาอุปกรณ์ Media box) ให้หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศในปัจจุบัน สามารพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้รวดเร็ว ติดตั้งเองได้ง่าย ราคาถูก เหมาะสำหรับท้องถิ่นใช้ประโยชน์ในการวางแผนจัดการน้ำและเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ได้ด้านที่2การบริหารจัดการน้ำเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับน้ำและความมั่นคงด้านน้ำการบริหารจัดการประตูน้ำ ติดตั้งไม้วัดระดับน้ำบริเวนคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำหลัก จำนวน 47 จุดเพื่อวัดระดับน้ำในแต่ละพื้นที่สำหรับเฝ้าระวังและเตือนภัยจากน้ำท่วม น้ำแล้ง และบริหารจัดการประตูน้ำในพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพด้านที 3 การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสมรภูมิอากาศ เช่นข้อมูลอากาศ และน้ำ แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม GPS ที่สนับสนุนให้ชุมชนใช้ในการบริหารจักการน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาโครงการสร้างน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภค และการเพิ่มรายได้ จากการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มรายได้ในพื้นที่ทุ่งรังสิต ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน หน่วยงานท้องถิ่น สถาบันอุดมศึกษา และเกษตรกรในพื้นที่ โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการน้ำร่วมกับการใช้ข้อมูลและแผนที่ โดย สสนก. ร่วมกับเกษตรกรเจ้าของพื้นที่ปาล์มน้ำมันกว่า3พันไร่ พัฒนาพื้นที่เกษตรกรทุ่งรังสิต น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืนได้อีกต่อไป
สมยศ แสงมณี / ปทุมธานี

DSC_0703 DSC_0707 DSC_0714




--!>