ปทุมธานี วัดสิงห์ อำเภอสามโคก ประชาชนเข้ามาทำบุญเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563 อย่างคึกคักและต่อเนื่อง

สิงหาคม 12, 2020 08:11 โดย opwnews
0
345

ปทุมธานี วัดสิงห์ อำเภอสามโคก ประชาชนเข้ามาทำบุญเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563 อย่างคึกคักและต่อเนื่อง

741752 741767 741768 741769 741771 741772741778741777 741775 741776

วันที่ 12 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากวัดสิงห์ ตำบลสามโคกว่ามีประชาชนเข้ามาร่วมทำบุญเนื่องในวันแม่แห่งชาติอย่างมากมาย ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ที่วัดสิงห์และนำบรรยากาศการทำบุญ เนื่องในวันแม่แห่งชาติของวัดสิงห์ได้ประชาชนทยอยมา ร่วมทำบุญเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ชอย่างต่อเนื่อง โดยบรรยากาศภายในวัดเป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชน มาเที่ยวชม ต้นสะตือ 300 ปี และชมความงามของวัดสิงห์สมัยกรุงศรีอยุธยา มีประชาชนมาให้อาหารปลาที่บริเวณวัดที่จัดไว้  ต่อมาผู้สื่อข่าวได้มีโอกาส  สอบถามพระใบฎีกาอรรถพล อนุจารี เจ้าอาวาสวัดสิงห์ ท่านให้รายละเอียดกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้เป็นวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563 ได้มี ประชาชนมาร่วมทำบุญที่วัดสิงห์เป็นจำนวนมาก และมาร่วมทำบุญถวายสังฆทาน และกราบไหว้หลวงพ่อเพชร เยี่ยมชมความงาม ประกอบด้วย  1.กุฏิโบราณ (ก่อด้วยอิฐปูนเป็นรูปแบบสถาปัตย์แบบฝรั่งเข้ามาในสมัยอยุธยาตอนปลายมุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู) 2.โบราณสถานเตาโอ่งอ่าง (เป็นแหล่งผลิตเครื่องดินเผาที่ใช้ในครัวเรือนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างตั้งแต่ครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ) 3.วิหารโถง(ศิลาดิน) (นับเป็นสถาปัตยกรรมอาคารทรงไทยที่งดงาม มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ภายในประดับด้วยดาวเพดานในกรอบไม้ย่อมุมแบบศิลปะอยุธยางดงาม )4.หลวงพ่อโต (พระพุทธรูปสำคัญที่งดงามประดิษฐานในวิหารโถงภายในกรอบซุ้มเรือนแก้วปางมารวิชัยและลดหลั่นลงมาด้วยพระลำดับนับเป็นพระพุทธรูปที่งดงามองค์หนึ่งของสยาม) 5.หลวงพ่อเพชร (พระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ด้านหลังซุ้มเรือนแก้วหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา) 6.วิหารน้อย (ศิลปกรรมสมัยอยุธยาไม่มีช่องหน้าต่างแต่ทำเป็นช่องลูกลงให้แสงเข้าสู่ภายในซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ) 7.โกศพญากราย (อดีตเจ้าอาวาสวัดสิงห์ พระราชาคณะ เจ้าคณะสงฆ์เมืองปทุมธานี สมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานนามว่า พระไตรสรณธัช ซึ่งได้สวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์ ) และ 8.โบสถ์ (สถาปัตยกรรมแบบไทยสมัยอยุธยาแต่ถูกบูรณะตกแต่งหลายครั้งจึงมีลวดลายปูนปั้นซุ้มหน้าต่างประตูเป็นแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ปรากฏอยู่ภายในประดิษฐานพระประธานศิลปะสมัยอยุธยาที่งดงามหาชมได้ยาก)  และวัดสิงห์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านสามโคก ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองสามโคก ครั้งแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาก่อนจะมาโปรดเกล้าให้ชาวมอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหมู่บ้านมอญที่สามโคกเรียกกันว่า”หมู่บ้านชาวพะโค” ซึ่งควบคุมดูแล โดยขุนนางไทย วัดสิงห์เป็นวัดที่สำคัญซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่งดงาม หลายอย่าง นอกจากนี้วัดสิงห์ยังมีร้านค้าร้านขาย ที่ไว้บริการประชาชนที่มาทำบุญที่วัดสิงห์ ได้ซื้อสินค้าราคาถูก เป็นสินค้าจากชาวบ้านนำมาจำหน่ายเอง เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียงราคาย่อมเยา และขอให้พี่น้องประชาชนที่มากราบไหว้พระที่วัดสิงห์ อย่าลืมซื้ออย่าลืมแวะชมร้านค้านะครับสาธุ

สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว 191ปทุมธานี รายงาน




--!>