GITพัฒนาอัตลักษณ์ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ก้าวไกลโกอินเตอร์ที่สุรินทร์
วันนี้(2มี.ค.64) นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ ก้าวไกลโกอินเตอร์ (อีสานมอร์เดิ้น) ที่โรงแรมโซริน บูทิค โฮเทล จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบและคุณภาพของเครื่องประดับเอกลักษณ์ของอีสานใต้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมต่อยอดไปถึงความรู้ด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับอัตลักษณ์ อีสานใต้ขยายโอกาสทางการตลาด กระจายรายได้ ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนแก่ผู้ประกอบการ และยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย โดยเป็น สินค้าซึ่งติดอันดับหนึ่งในสามรายการสินค้าส่งออกหลักที่นำรายได้เข้าประเทศ ก่อให้เกิดเม็ดเงิน หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเกือบ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็น SMEs กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศกว่า 12,500 แห่ง ยังไม่รวมกิจการ ในครัวเรือนอีกจำนวนมาก มีการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานนับล้านคน รวมแรงงานทั้งในและ นอกระบบ นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสร้างและกระจายรายได้ ให้แก่ช่างฝีมือและผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอยู่ไม่น้อย ในปีที่ผ่านมาสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้ดำเนินงาน โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับในพื้นที่บริเวณอีสานตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี โดยได้มีการ ฝึกอบรมพัฒนาทั้งรูปแบบสินค้า เทคนิคการผลิต และการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ เครื่องประดับ นำเอกลักษณ์ของภูมิภาคที่สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ จึงนำมาสู่การขยายผลเป็นโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ ก้าวไกลโกอินเตอร์ ซึ่งมีเป้าหมายต่อยอดด้านเทคนิคการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มและสร้างแบรนด์ รวมถึงเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
สำหรับในปีนี้ โครงการพัฒนาอัตลักษณ์ ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ ก้าวไกลโก อินเตอร์นอกจากจะดำเนินการพัฒนารูปแบบและคุณภาพของเครื่องประดับเอกลักษณ์ของอีสาน ใต้ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว ยังจะได้ต่อยอดไปถึงความรู้ด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้ง ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับอัตลักษณ์ อีสานใต้ขยายโอกาสทางการตลาด กระจายรายได้ ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนแก่ผู้ประกอบการ พร้อมยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการจัดฝึกอบรมในวันนี้ ถือ เป็นการเริ่มคิ๊กออฟเปิดตัวโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ ก้าวไกลโก อินเตอร์นี้อย่างเป็นทางการในจังหวัดสุรินทร์และในท้ายที่สุดจะได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เครื่องประดับอัตลักษณ์อีสานใต้ไปจัดแสดงและจำหน่ายภายใต้นิทรรศการ Gems Treasure ภายในงานบางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ เดือนกันยายนศกนี้
ศูนย์ข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/รายงาน