สสส. ร่วมมือภาคี สร้างเสริมมิติใหม่ อาหารไทยในยุคโควิด

กันยายน 17, 2021 08:17 โดย opwnews
0
637

สสส. ร่วมมือภาคี สร้างเสริมมิติใหม่ อาหารไทยในยุคโควิด1631866423369Screenshot_2021-09-17-10-39-19-32_2ef548bf47261a0f379d52645eb41568Screenshot_2021-09-17-10-21-32-65_2ef548bf47261a0f379d52645eb41568


 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม และโครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัย “อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์” ได้จัดเวทีเสวนาออนไลน์ ในวันศุกร์ ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่าน Facebook Live เครือข่ายงดเหล้า ในหัวข้อ “มิติใหม่ อาหารไทยในยุคโควิด” เพื่อร่วมกันค้นหาแนวทางขับเคลื่อนมาตรการและข้อเสนอในการสร้างภูมิความรู้การดูแลสุขภาพผ่านระบบห่วงโซ่อาหาร (ต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ) ในการส่งเสริมและสร้างสรรค์เมนูอาหารต่าง ๆ ที่ตอบสนองกับสถานการณ์สังคมในช่วงโควิด19 ที่กำลังเริ่มมีการผ่อนคลาย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีทุนภาคีเครือข่ายที่ทำงานเรื่องอาหาร ในระดับพื้นที่ เข้าไปมีบทบาทต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการร่วมกันดูแลสังคมในช่วงโควิด ด้วยบทบาทที่หลากหลาย จึงใช้โอกาสนี้ในการเชิญภาคีเครือข่ายที่มีความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมและสร้างสรรค์เมนูอาหาร ที่สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงโควิด
ดร.สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญโภชนาการอิสระ นำเสนอว่าบทเรียนจากโควิดทำให้รู้ว่า ถ้าร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากจะทำให้ปลอดภัยจากโควิด โควิดสอนให้รู้ว่าสมุนไพรหลายชนิดมีประโยชน์ในการเพิ่มภูมิต้านทานโดยเฉพาะฟ้าทะลายโจร ดร.สง่า ตั้งคำถามว่า ถ้าโควิดยังอยู่กับเรา เราจะอยู่รอดอย่างไร ทำอย่างไรให้มีความมั่นคงทางอาหาร และร้านอาหารและเกษตรกรควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้อยู่รอด
อ.ศรีอัมพร เฉลิมพร ร้านบ้านเพิ่มบุญ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำเสนอว่าที่ผ่านมาทางร้านได้เข้าร่วมโครงการทำงานกับทาง สสส.ตลอด ไว้เป็นทุนด้านองค์ความรู้ ดังนั้นยามเกิดวิกฤติ จึงทำให้ทางร้านได้รับผลกระทบน้อย ในส่วนของการทำธุรกิจของร้านบ้านเพิ่มบุญเน้นการส่งมอบสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูกค้า โดยมีคติของร้านคือ “ความสุขคือกำไร” นอกจากนี้เชื่อว่าการรับประทานอาหารเป็นยาดีกว่าการทานยาเป็นอาหาร และยาที่ดีที่สุดคืออาหารที่มีคุณค่า ซึ่งในยุคโควิดทางร้านได้เพิ่มเมนูผักพื้นบ้านและสมุนไพรมากขึ้น โดยเน้นสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มภูมิเช่น กระชายขาว ขิง เป็นต้น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
อ.สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา จังหวัดสงขลา โควิดแทบไม่ส่งผลกระทบต่อเครือข่าย เพราะมีการทำการเกษตรแบบยั่งยืนหรือการทำเกษตรแบบผสมผสานและมีการปลูกพืชสมุนไพรจำนวนมาก ก่อนเกิดโควิด ทาง สสส.และเครือข่ายได้ร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้ ทำให้เครือข่ายสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพ เครือข่ายสามารถปรับตัวให้อยู่รอดในยุดโควิดได้ เช่น มีแหล่งผลิตผักในชุมชนและมีการทำตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายให้ชุมชนข้างเคียง มีโครงการ 1 ครัวเรือน 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เป้าหมายของการส่งเสริมของศูนย์เรียนรู้ กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา หรือทุ่งเคียมโมเดล คือมีความมั่นคงทางอาหาร โดยรวมตัวกันเป็นเครือข่าย
อ.สมพร ขุมทองรัตนกุล แพทย์แผนไทย ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ อสม.และประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรมูลฐาน นอกจากมีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรโดยทดลองปลูกที่จังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกสมุนไพรให้ทั่วทุกอำเภอของจังหวัดสงขลา นอกจากนี้อ.สมพร นำเสนอเพิ่มเติมว่า อาหารไทยมีเอกลักษณ์ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน กลมกล่อม (เปรียว เผ็ด หวาน) มีคุณค่าทางโภชนาการและมีสรรคุณทางยา สมุนไพรที่อยู่ในอาหารอยู่ในรูปของพืชผักต่าง ๆ เครื่องปรุงและเครื่องเทศ สำหรับเครื่องเทศจะช่วยแต่งกลิ่น แต่งรสและเพิ่มสีสันของอาหาร รวมถึงช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ และมีสรรคุณทางยา เครื่องเทศที่ได้รับความนิยมเช่น กระเทียม ขมิ้น ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย ฯลฯ เครื่องเทศที่อยู่ในอาหารรสชาติต่างกันจะมีคุณสมบัติต่างกัน
นายกิตติ ทิศสกุล ร้านอาหารสบันงาน จังหวัดเชียงราย โควิดทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปโดยหนึ่งในนั้นคือ การถวิลหาวิถีชีวิตชนบท และต้องการสุขภาวะที่ดี ทั้งเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ อาหารของไทยในแต่ละภาคจะมีสมุนไพรเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำพริก ที่แต่ละภาคจะใช้วัตถุดิบในพื้นที่ นอกจากนี้การสอนทำอาหารพื้นถิ่นก็กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างเช่น การทำเรื่องเล่าในชุมชนเพื่อโปรโมท อาหารหรือกิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชน หรือการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายแล้วทำเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ ร้านอาหารรับซื้อวัตถุดิบจากกลุ่มเกษตรกรมาผลิตอาหาร ต้องสร้างจุดขายใหม่ สร้างแบรนด์ สร้างอัตลักษณ์และสร้างเรื่องเล่า
“การจัดเวทีเสวนา ออนไลน์ “มิติใหม่ อาหารไทยในยุคโควิด” มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับอาหารไทย ให้ภูมิคุ้มกันต้านโรค แบบครบห่วงโซ่อาหารและนำเสนอแนวคิดที่เชื่อมโยงกับมิติความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว การขับเคลื่อนร่วมของเครือข่ายผู้ประกอบการร้านอาหาร เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายการท่องเที่ยว ภาคประสังคมและชุมชน พร้อมทั้งการค้นหาทิศทางโอกาส การปรับตัว วิธีการฟื้นตัวของธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหา ในช่วงประชาชนคนไทย กลุ่มเปราะบางและร้านอาหารในชุมชนท้องถิ่นได้รับผลกระทบ ซึ่งสสส. และภาคีเครือข่ายมีเป้าหมายทำให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิต มีสุขภาพที่ดี และสนับสนุนเรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ดร.ณัจยา แก้วนุ้ย ผจก.โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัย “อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์” กล่าว

1631866423369




--!>