ปทุมธานี ทม.บึงยี่โถร่วมกับ JICA ประเทศญี่ปุ่นยกระดับการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุให้มีมาตรฐานสากล
ปทุมธานี ทม.บึงยี่โถร่วมกับ JICA ประเทศญี่ปุ่นยกระดับการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุให้มีมาตรฐานสากล
วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ศูนย์สันทนาการและฟื้นฟูผู้สูงอายุบึงยี่โถ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี นายนายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน Smart & Strong Qpening Ceremeny เพื่อยกระดับการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพทัดเทียมในระดับสากล โดยมี นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ กล่าวว่า รายงาน
โดย นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ ขึ้นเวทีเสวนาเกี่ยวกับการดำเนินการ Smart & Strong Qpening Ceremeny เพื่อยกระดับ การจัดบริการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพทัดเทียมในระดับสากล ร่วมกับ ผศ.ดร. ณัฏฐพัชร สโรบล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการบูรณาการการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการสร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , นายคาฮิโร โมริตะ ผู้แทนจากองค์การความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) และ นายโทชิยูกิ โอกุอิ ประธานองค์กร Nogezaka -Glocal ในฐานะเครือข่ายหลัก ซึ่งศูนย์สันทนาการและฟื้นฟูผู้สูงอายุบึงยี่โถเทศบาลเมืองบึงยี่โถ และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency หรือ JICA) โดย JICA ได้มอบอำนาจให้องค์กร Nogezaka-Glocal และเทศบาลเมืองยูกาวะระ เป็นผู้รับผิดชอบหลักในนามประเทศญี่ปุ่นและมีเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี เป็นหน่วยงานหลักในนามประเทศไทยในการดำเนินโครงการบูรณาการการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการสร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Project on the Development of Local Authorities of a Community-based Integrated Elderly Care Model through the Networking in Thailand) เพื่อพัฒนาต่อยอดและดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน ขอบเขตการดำเนินงานในปีที่ 1 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการจำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย 1.เทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง 2.เทศบาลตำบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี 3.เทศบาลเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4.เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5.เทศบาลตำบลท่าสายลวด จังหวัดตาก 6.เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 7.เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง 8.เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เเละในปีที่ 2 ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายผลการดำเนินงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 20 แห่ง ความโดดเด่นของโครงการนี้อยู่ที่การประสานเครือข่ายความร่วมมือ หรือที่เรียกว่า การบูรณาการทุกภาคส่วนประกอบด้วย คณะทำงานหลัก คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการ และทีมที่ปรึกษาโครงการ ที่มาจากผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Osaka University, Tokyo City University และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ
นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 15 ปีที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุในชุมชน หลังจากเทศบาลรับถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย และยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ ผมเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพควบคู่ไปกับการรักษาฟื้นฟูและไม่ได้เน้นแต่กลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ปรารถนาให้คนทุกวัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ ผม บุคลากรเทศบาล และ คนในชุมชนจึงทุ่มเทอย่างหนักในการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนทุกรูปแบบ อาทิ มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน 3 แห่ง มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุช่วงกลางวันหรือเดย์แคร์ 1 แห่ง มีมูลนิธิข้างเตียงเคียงกันในการประสานส่งต่อกายอุปกรณ์ และมีศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาบึงยี่โถที่เน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นรูปแบบการจัดบริการแบบบูรณาการในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โครงการสตรองการจัดบริการแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนภายใต้แนวคิด “STRONG MODEL” ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมผู้สูงอายุระดับอาเซียน ในสาขาความคิดริเริ่มจากชุมชน Healthy Aging Prize for Asean Innovation 2021 (HAPI Award) สตรอง (STRONG) คือ “ผู้สูงวัย หัวใจสตรอง” ที่สื่อความหมายถึง การมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ การพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการยกระดับ การจัดบริการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพทัดเทียมในระดับสากลให้ผู้สูงอายุของประเทศไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขีดความสามารถในการทำประโยชน์แก่สังคม การเกิดโครงการนี้จึงริเริ่มจากแนวคิดที่จะขยายผลความสำเร็จจากบทเรียนของ STRONG MODEL ไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทย.
สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว ปทุมธานีรายงาน