ปทุมธานี สสจ.ปทุมฯ ชี้แจงการให้บริการ สายด่วน 1669

มกราคม 20, 2023 12:53 โดย opwnews
0
85

ปทุมธานี สสจ.ปทุมฯ ชี้แจงการให้บริการ สายด่วน 1669

63958 63959

วันที่ 20 ม.ค.66 เวลา 15.00 น. ที่ โรงพยาบาลปทุมธานี นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ในฐานะผู้ดูแลระบบ การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี เปิดแถลงข่าวชี้แจงกรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าว มีผู้ป่วยอาการหนักโทร 1669 และเจ้าหน้าที่บอกว่า ให้หายากินแล้วนอนพักก่อน สุดท้ายให้เพื่อนบ้านช่วยนำส่งโรงพยาบาล พบว่าเป็นไข้เลือดออก นั้น  นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ผู้ป่วยที่อยู่หมู่บ้านพฤกษา คลอง 6 อ.คลองหลวง ปทุมธานี แจ้งสายด่วน 1669 ในเวลา 02.30 น. ให้รับตัวไปโรงพยาบาลแพทย์รังสิต โดยแจ้งว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการตัวร้อน อาเจียนมา 2 วัน เจ้าหน้าที่จึงประเมินว่าเป็นมา 2 วัน ไม่ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน จึงแนะนำให้กินยาลดไข้ และให้มาตรวจที่ รพ.ในตอนเช้า ต่อมาในเวลา 03.30 น. ภรรยาผู้ป่วยได้โทรแจ้งเข้ามาอีกครั้ง และแจ้งอาการเพิ่มเติมว่า มีอาการไข้ ไม่มีแรง หายใจติดขัด จึงประเมินอาการเป็นเคส 17 (กลุ่มอาการนำ ป่วยอ่อนเพลีย ไม่จำเพาะไม่ทราบสาเหตุ) เคสสีเหลือง 5 (ผู้ป่วยทั่วไปแต่ไม่จำเป็นต้องมีการกู้ชีพ / รักษาทันที) พร้อมกับได้ ประสานรถเบสิคกับ FR ออกไปรับ แต่ไม่มีรถ ซึ่งทางนพ.ภุชงค์ ไชยชิน ได้กล่าวขอโทษประชาชน ที่ไม่มีรถ แล้วไม่ได้โทรกลับไปแจ้ง พร้อมทั้งได้กล่าวชี้แจงเรื่องรถฉุกเฉินว่า กรณีรถ ALS (Advance Basic Life Support) นั้น จะให้ออกรับเฉพาะเคสวิกฤตฉุกเฉิน (สีแดง) เท่านั้น กรณีออกรับเคสเร่งด่วน (สีเหลือง) ถ้ามีผู้ป่วย สีแดง เกิดขึ้นระหว่างนั้นจะเกิดข้อร้องเรียน ได้อีกแบบหนึ่ง
ทั้งนี้ ได้กล่าวว่า สายด่วน 1669 เป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนอกสถานพยาบาล โดยเมื่อมีผู้ป่วยโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่จะประเมินอาการว่าเข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ หรือเข้าข่ายอาการแบบไหน ก่อนที่ส่งทีมผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือ ซึ่งแบ่งอาการฉุกเฉิน ออกเป็น 6 กลุ่มอาการ 1 หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2) การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลาสถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดเฉียบพลัน 3) ระบบหายใจมีวิกฤต เช่น หายใจเร็วแรง และลึก เป็นต้น 4) ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤต เช่นตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกท่วมตัว เป็นต้น 5) อวัยวะ ฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ 6) อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง ซักเกร็ง เป็นต้น  และได้กล่าวยืนยันว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีตระหนักดีว่า 1669 เป็นสายด่วนที่ให้บริการกับประชาชนที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่จังหวัดปทุมธานี ยังมีหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงต้องอาศัยการดูแลจากมูลนิธิกู้ชีพ ซึ่งก็มีจำนวนรถไม่เพียงพอกับการใช้บริการของประชาชน เพราะพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีเหตุฉุกเฉินที่จะต้องออกให้บริการโดยเฉลี่ย 1.000 ราย / วัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ไม่ได้นิ่งนอนใจในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการวางแผนที่จะร่วมมือกับองศ์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึง

สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว ปทุมธานี รายงาน




--!>