ผู้จัดการ ธ.ก.ส.เป็นประธานเปิดงานและให้นโยบายในการประชุมขับเคลื่อนงานสู่ความสำเร็จ ปีบัญชี 2566 สื่อสารโครงการสินเชื่อชลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
วันนี้( 27 มกราคม 2567 ) นายฉัตรชัย ศิวิไล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.เป็นประธานเปิดงานและให้นโยบายในการประชุมขับเคลื่อนงานสู่ความสำเร็จ ปีบัญชี 2566 สื่อสารโครงการสินเชื่อชลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
โดยมีนายยุวพล วัตถุ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ให้แนวทางในการทำงานเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จโดยมีพนักงานในสังกัดสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 700 คนเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ทั้งนี้ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 10,601.96 ล้านบาท
2 มาตรการพยุงราคาข้าว▶1. สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เป้าหมายดูดซับปริมาณข้าวออกสู่ตลาด 3 ล้านตัน
(1) ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3 ล้านตันข้าวเปลือก โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้
– ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท
– ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท
– ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท
– ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท
– ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท
(2) ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาท
ต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับ ในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
(3) การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกที่ ธ.ก.ส. ตามวงเงินที่สำรองจ่ายและชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. กำหนดเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 ถึง 29 ก.พ. 2567
▶2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม เป้าหมาย 1 ล้านตัน
สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1 ล้านตันข้าวเปลือกและจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายในระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.85 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 5.875 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.85 ต่อปี กำหนดเริ่ม 1 ต.ค. 2566 ถึง 30 ก.ย.2567
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะให้สถาบันเกษตรกรเข้าไปซื้อแข่งและแทรกแซงตลาด โดยซื้อในราคานำร่องข้าวเปลือกหอมมะลิ ในความชื้น 25% ราคาตันละ 12,200 บาท เมื่อขายได้แล้วกำไรจะแบ่งชาวนาตันละ 300 บาท ซึ่งจะทำให้ชาวนาได้รับเงินรวมตันละ 12,500 บาท ซึ่งจะดีกว่าเดิมหากไม่ไปแทรกแซงเพราะจะทำให้ชาวนาได้เงินเพิ่มจากราคาตลาด อีก 1,500 บาท