มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) แถลงสรุปผลการดำเนินงานการช่วยเหลือสังคม เด็ก และสตรี ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดปี2559

ธันวาคม 24, 2016 11:28 โดย opwnews
0
1363

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) แถลงสรุปผลการดำเนินงานการช่วยเหลือสังคม เด็ก และสตรี ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ตลอดปี1482579190607
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 24 ธ.ค.59 ที่มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ถนนรังสิตนครนายก คลอง 7 ปทุมธานี  นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) แถลงสรุปผลการดำเนินงานการช่วยเหลือสังคม เด็ก และสตรี ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมในรูปแบบต่างๆ ประจำปี 2559 โดย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 21  ธันวาคม 2559  มูลนิธิปวีณาฯ ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น จำนวน 9,157 เรื่อง ดังนี้
1. ข่มขืน/อนาจาร 681 ราย
2. ล่อลวง/ ค้าประเวณี 176 ราย
3. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย/กักขัง 939 ราย
4. คนหาย 229 ราย
5. เร่รอนจรจัด/พลัดหลง 92 ราย
6. แรงงานไม่เป็นธรรม 69 ราย
7. ปัญหาครอบครัว 1,540 ราย
8. ขอความเป็นธรรม 356 ราย
9. แชท/อินเตอร์เน็ต 174 ราย

10. ขอความอนุเคราะห์ 894 ราย
11. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ 110 ราย
12. ปัญหาอื่นๆ 1,005 ราย
13. ปรึกษาทางโทรศัพท์ 2,892 ราย

 

ปัญหาที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้ความสำคัญและจะเข้าช่วยเหลือทันที คือ 1. ข่มขืน/อนาจาร 2. ค้ามนุษย์/ค้าประเวณี ประมง ขอทาน 3. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย/กักขัง 4. ปัญหาครอบครัว

 

1. คดีข่มขืนในปี 2559 มี 681 ราย ซึ่งสถิติขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว ถึง 23 ราย เฉลี่ยมูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องข่มขืนวันละเกือบ 2 ราย ช่วงอายุของผู้เสียหาย อายุน้อยที่สุดเป็นเด็กหญิง อายุ 1 ปี 5 เดือน รับเรื่องช่วงเดือนก.ค.59 ผู้กระทำเป็นพ่อเลี้ยง ขณะนี้ถูกจับกุมดำเนินคดีแล้ว และผู้เสียหายที่อายุมากที่สุด เป็นหญิงชราอายุ 78 ปี ผู้กระทำเป็นเพื่อนบ้าน ขณะนี้ถูกจับกุมดำเนินคดีแล้ว

2. เรื่องค้ามนุษย์ / ค้าประเวณี มูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องราวร้องทุกข์ถึง 176 ราย เฉลี่ยรับเรื่องร้องทุกข์เดือนละ 15 ราย ปัญหานี้ได้ลดลงจากปีที่แล้ว 24 ราย เนื่องจากรัฐบาลได้หันมาแก้ไขปัญหาและปราบปรามอย่างจริงจังมากขึ้น แต่ทั้งนี้ยังคงมีเหยื่อหญิงสาวทั้งที่สมัครใจและถูกล่อลวงร้องขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิปวีณาฯ ในส่วนคนที่สมัครใจที่จะเดินทางไปทำงานนวดและค้าประเวณียังต่างประเทศ เมื่อเดินทางไปถึงพบว่ารายได้หรือความเป็นอยู่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ก็จะร้องขอความช่วยเหลือเพราะผู้ที่ชักชวนไปจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางและทุกอย่างให้ ทำให้ต้องเป็นหนีและถูกบังคับทำให้ทำงานใช้หนี้ ส่วนผู้ที่ถูกล่อลวงไปก็เช่นกัน เมื่อรู้ว่าไปถึงกลับถูกบังคับให้ไปค้าประเวณีแทนที่จะได้ทำงานตามที่ตกลงไว้ก็ต้องการกลับประเทศแต่ไม่มีเงินที่ใช้หนี้ในการเดินทาง เหยื่อเหล่านี้ก็จะแจ้งร้องขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิปวีณาฯ จากนั้นมูลนิธิปวีณาฯ ได้ประสานกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเพื่อที่ให้การช่วยเหลือได้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ซึ่งประเทศที่ถูกหลอกไปค้าประเวณีมากที่สุด คือ บาห์เรน , เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ตามลำดับ

3. เรื่องทารุณกรรม / ทำร้ายร่างกาย /กักขัง มูลนิธิปวีณาฯรับร้องทุกข์ถึง 939 ราย เฉลี่ยรับเรื่องร้องทุกข์วันละ 3 ราย  สถิติสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 212 ราย แบ่งเป็น

3.1 เด็กถูกทำร้ายร่างกายและทารุณกรรม ซึ่งเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายอายุต่ำสุด 2 เดือน ผู้ทำร้ายคือ พ่อ สาเหตุเพราะติดยาเสพติด

3.2 ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายและทารุณกรรม ซึ่งผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายอายุมากสุด 84 ปี ผู้ทำร้ายคือ ลูกสาว ส่วนสาเหตุการกระทำความรุนแรง ทารุณกรรม กักขัง ส่วนใหญ่เกิดจาก ความเครียด , เมาสุรา , เสพยาเสพติด , หึงหวง

4. ปัญหาครอบครัว มูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องราวร้องทุกข์ถึง 1,540 ราย  ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วกว่า 1 เท่าตัว ส่วนใหญ่สาเหตุมาจาก

– ปัญหาจากยาเสพติด
– ปัญหาจากการฟ้องหย่า
– ปัญหาจากการแย่งบุตร
– ปัญหาจากการท้องแล้วไม่รับผิดชอบ
– ปัญหาจากการไม่ส่งเสียหรือดูแลบุตร และครอบครัว

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2542 ถึง ปัจจุบัน นับ 17 ปี และได้รับเรื่องราวร้องทุกข์มาแล้วทั้งสิ้น 113,117 ราย (ตามสถิติแนบ)

สำหรับช่องทางการติดต่อมูลนิธิปวีณาฯ สามารติดต่อได้ 8 ช่องทาง ดังนี้  (1) สายด่วน 1134 (2) โทรศัพท์พื้นฐาน 5 เลขหมาย (3) โทรศัพท์มือถือ 3 เลขหมาย (4) โทรสาร (5) e-mail: pavena1134@hotmail.com (6) facebook: มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (7) ตู้ ปณ.222 และ (8) มาร้องเรียนด้วยตนเองที่มูลนิธิปวีณาฯ

ในรอบปี พ.ศ.2559 มูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์และขอความช่วยเหลือปัญหาต่างๆ จำแนกตามช่องทางการรับเรื่องหลักๆ ดังนี้

มาร้องทุกข์ด้วยตนเอง หรือร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1134 ทางโทรศัพท์ ทางตู้ ปณ. ทางโทรสาร คิดเป็นร้อยละ 29 ของจำนวนปัญหาทั้งหมดรับเรื่องราวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส




--!>