วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต เปิดแผนการเรียนนานาชาติ : English Program มุ่งพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิต

ตุลาคม 5, 2018 10:16 โดย opwnews
0
1020

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดแผนการเรียนนานาชาติ : English Program มุ่งพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิต เพื่อตอบโจทย์แพลตฟอร์มใหม่ของโลกในศตวรรษที่ 21

1

รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ตามวิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในรูปแบบของ RSU Model “Innovative Startup Entrepreneurship” By Integrative and Regenerative Competency Based Technology Transformation ที่เน้นพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก” นั้น ในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ทางวิทยาลัยฯ ได้จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 แผนการเรียน ได้แก่

1.แผนการเรียนนานาชาติ เป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่รับผู้เรียนทั้งคนไทยและนานาชาติ

  1. แผนการเรียนแบบปกติ เป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  2. แผนการเรียนแบบ 4+1 เป็นแผนการเรียนที่เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยานที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะปริญญาตรี(4 ปี) ควบปริญญาโท(1 ปี) โดยผู้ที่จบการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี จะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษาในระยะเวลา 4 ปี และได้รับปริญญาโทเมื่อศึกษาต่อในระยะเวลาอีก 1 ปี
  3. แผนการเรียนแบบปริญญาที่ 2 สำหรับผู้จบปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นๆ และต้องการเรียนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นปริญญาที่ 2 ใช้ระบบเทียบโอนหน่วยกิต

5 2

โดยในแต่ละแผนการเรียน ได้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาผ่านระบบและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) แบบสหสาขาวิชา ทั้งทางด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ ทางการแพทย์ Big Data Analytic  IoT ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ วัสดุชีวการแพทย์ วิศวกรรมเนื้อเยื่อ ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย และโครงงานเป็นพื้นฐาน โดยมุ่งพัฒนาใน 3 แขนงย่อยคือ

  • เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพและวิศวกรรมคลินิกแบบอัจฉริยะ

(Smart Healthcare Technology and Clinical Engineering)

  • หุ่นยนต์ทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์

(Medical Robotics & Medical Devices)

  • วัสดุทางการแพทย์บันดาลใจจากชีวภาพและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ

(Bio-inspired Materials & Tissue Engineering)

9 3 10

“สำหรับแผนการเรียนแบบนานาชาตินั้น จะเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป โดยรับนักศึกษาปีการศึกษาละ 30 คน ซึ่งเป็นแผนการเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่คิดค่าหน่วยกิตเท่ากับแผนการเรียนแบบภาษาไทย โดยรับผู้เรียนทั้งที่เป็นคนไทยและนานาชาติ ทั้งนี้ เกิดจากการที่ทางวิทยาลัยฯ ได้มองเห็นถึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดนิยามและวางแนวทางในอนาคตในการพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ให้แก่บัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่พวกเขาต้องออกไปรองรับการตอบโจทย์ให้กับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่21 ที่มีในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องของหลักเกณฑ์ของสังคมชุดใหม่ ชุดของโอกาสชุดใหม่ ชุดของภัยคุกคามชุดใหม่ และชุดของข้อจำกัดชุดใหม่ให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเพิ่มเติม




--!>